:::     :::

สรุปประเด็นร้อน "หงส์ให้รัฐช่วยอุ้ม"

ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
ประเด็นขอเข้ารับการช่วยจากรัฐบาลของ ลิเวอร์พูล กลายเป็นประเด็นที่วงการฟุตบอลในอังกฤษให้ความสนใจและแสดงความเห็นกันอย่างมาก เรื่องราวเป็นมาอย่างไร มีสรุปเอาไว้ทั้งหมดตรงนี้

1. สโมสรลิเวอร์พูล ประกาศยื่นขอรับมาตรการเยียวยาจากรัฐบาลที่จ่ายเงินชดเชยให้กับลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 

2. มาตรการนี้ ภาครัฐจะจ่ายให้ 80 เปอร์เซ็นต์จากค่าแรงทั้งหมด และให้สูงสุดคนละ 2,500 ปอนด์ต่อเดือน ขณะที่อีก 20 เปอร์เซ็นต์ ลิเวอร์พูล เป็นผู้จ่าย นั่นเท่ากับว่าลูกจ้างของสโมสรได้รับเงินเต็มจำนวนเหมือนเดิมระหว่างถูกพักงาน (furlough) 

3. ลิเวอร์พูล ต้องการให้ภาครัฐมาช่วยในส่วนของลูกจ้างที่ไม่เกี่ยวข้องกับทีมฟุตบอล (non-playing staff) จำนวน 200 คน ตามโครงการ "The Job Retention Scheme" ลูกจ้างกลุ่มนี้ก็เช่น พนักงานในสำนักงาน, พนักงานขายของที่ระลึก, เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์, เจ้าหน้าที่สนาม, ฝ่ายบุคคล, บัญชี, กฎหมาย ฯลฯ เป็นต้น 

4. นอกจาก ลิเวอร์พูล แล้ว มีอีกหลายทีมในพรีเมียร์ลีกก็ขอรับความช่วยเหลือจากรัฐบาลไม่ว่าจะเป็น สเปอร์ส, นอริช ซิตี้, นิวคาสเซิ่ล และ บอร์นมัธ

5. อย่างไรก็ตาม การให้ภาครัฐเข้ามาช่วยเหลือทางการเงินนี้ทำให้ ลิเวอร์พูล ถูกวิจารณ์และตั้งคำถามจากหลายฝ่ายมากกว่าทีมอื่นไม่ว่าจะเป็นสื่อมวลชนในอังกฤษ, อดีตนักเตะ และกลุ่มแฟนบอลหงส์แดงเอง 

6. สื่อมวลชนมองว่า ลิเวอร์พูล ไม่จำเป็นต้องใช้สิทธิ์นี้เพราะสถานะทางการเงินดีอยู่แล้ว ผลประกอบการปีล่าสุดทำกำไร 42 ล้านปอนด์ก่อนหักภาษี ไม่ได้เข้าข่ายขัดสนทางการเงิน ทำไมต้องให้รัฐมาช่วยอุ้ม มาตรการนี้ควรช่วยเหลือสโมสรหรือองค์กรธุรกิจที่มีปัญหาทางการเงินจริงๆ มากกว่า 

7. มีการคำนวณออกมาว่า ถ้าภาครัฐเข้ามาช่วยในส่วนนี้จะทำให้ ลิเวอร์พูล เซฟเงินได้เพียง 1.5 ล้านปอนด์ ซึ่งไม่ใช่เงินก้อนโตและสโมสรระดับ ลิเวอร์พูล สามารถจ่ายได้อยู่แล้ว เงินส่วนนี้หากไปช่วยเหลือทีมที่เล็กกว่า ทีมในลีกรองต่างๆ ก็ช่วยได้อย่างเป็นรูปธรรมชัดเจนมากกว่า


เจมี่ คาร์ราเกอร์ ไม่เห็นด้วยกับสโมสร

8. ขณะที่อดีตนักเตะของสโมสรเองไม่ว่าจะเป็น เจมี่ คาร์ราเกอร์, แดนนี่ เมอร์ฟี่, ดีทมาร์ ฮามันน์ และ สแตน คอลลีมอร์ ต่างไม่เห็นด้วยกับแนวทางนี้และวิจารณ์สโมสร 

9. คาร์ราเกอร์ ที่ตอนนี้คือทำงานด้านสื่อไปด้วยระบุว่า "เจอร์เก้น คล็อปป์ แสดงให้เห็นถึงความอกเห็นใจทุกคนมาโดยตลอดนับตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นของการแพร่ระบาดเชื้อไวรัส ขณะที่บรรดานักเตะระดับซีเนียร์ก็มีส่วนร่วมเกี่ยวกับการลดค่าจ้างนักเตะ ทว่าหลังจากนั้นความน่าเคารพนับถือ และความปรารถนาดีต่างๆ ที่มี กลับหายไป แย่มาก ลิเวอร์พูล"

10. ขณะที่ คอลลีมอร์ แสดงความเห็นอย่างเผ็ดร้อนว่า "ผมไม่รู้ว่าจะมีแฟนบอล ลิเวอร์พูล คนไหนคิดเป็นอย่างอื่นนอกจากรังเกียจการพักงานลูกจ้างของสโมสร มันเป็นอะไรที่พลาดสุดๆ การพักงาน (และรับการเยียวยาจากรัฐ) มีขึ้นเพื่อธุรกิจขนาดเล็กไม่ให้ล้มละลาย เจ้าของทีมพรีเมียร์ลีกมีเงินอยู่แล้ว พวกเขาทำรายได้จากมูลค่าสโมสรที่ขึ้นพุ่งพรวด แล้วทำไมเจ้าของทีมเหล่านั้นไม่ควักกระเป๋าตัวเองบ้าง?" 

11. ส่วนแฟนบอลเดอะ ค็อป เองที่คัดค้านและต้องการคำชี้แจงจากสโมสรก็นำโดยกลุ่ม "สปิริต ออฟ แชงค์ลี่ย์" (Spirit Of Shankly) ที่เป็นแฟนบอลกลุ่มใหญ่ที่มีความกังวลว่าสโมสรตั้งใจจะเอาเงินของคนที่เสียภาษีมาจ่ายให้กับเหล่าสตาฟฟ์ ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง

12. หนังสือที่ยื่นต่อสโมสรเขียนเอาไว้ว่า "สโมสรต้องออกมาให้คำตอบถึงเหตุผลในการตัดสินใจสั่งพักงานบรรดาสตาฟฟ์ เราเชื่อว่าองค์กรที่ทำกำไรได้หลายล้านปอนด์ไม่ควรจะพึ่งเงินช่วยเหลือที่มาจากเหล่าคนที่เสียภาษีในช่วงเวลาวิกฤตเช่นนี้ เราได้ติดต่อกับสโมสรเพื่อขอคำอธิบายถึงจุดยืนกับเหตุผลของพวกเขา" 

13. 3 ส่วนหลักๆ ที่ไม่เห็นด้วยกับท่าทีของ ลิเวอร์พูล นี้ต่างมองตรงกันว่า "หงส์แดง" อยู่ได้โดยไม่ต้องพึ่งมาตรการของรัฐบาล และควรเปิดโอกาสให้สโมสรหรือองค์กรอื่นที่ได้รับผลกระทบจริงๆ ได้ใช้สิทธิ์เพื่อให้ผ่านวิกฤตครั้งนี้ไปให้ได้ 


จอห์น เฮนรี่ อาจต้องทบทวนการเดินหมากครั้งนี้

14. สื่อในอังกฤษวิเคราะห์เพิ่มเติมว่าประเด็นนี้ของ ลิเวอร์พูล ถูกพูดถึงในวงกว้างไม่ใช่เพียงเพราะการเงินของสโมสรที่ดีอยู่แล้ว แต่เป็นเพราะ "ภาพลักษณ์" ที่พวกเขาเป็นมาและพยายามเป็นมันตรงกันข้ามกับสิ่งที่กำลังทำอยู่ 

15. แฟนบอล ลิเวอร์พูล ต่างภูมิใจในความเป็นสโมสรตัวเอง ในวิถีแบบลิเวอร์พูล มีสโลแกนอันศักดิ์สิทธิ์ "You'll never walk alone" ที่แสนภาคภูมิใจ การกระทำที่ก่อให้เกิดเสียงวิจารณ์แบบนี้กำลังท้าทายความเชื่อและตัวตนของสโมสร จึงเลี่ยงไม่ได้ที่จะถูกดูแคลนจากภายนอก รวมถึงคนในด้วยกันเอง 

16. ที่ผ่านมา กลุ่ม เฟนเวย์ สปอร์ตส์ กรุ๊ป ที่นำโดย จอห์น เฮนรี่ บริหารสโมสรได้อย่างยอดเยี่ยม ทุกอย่างเดินหน้าได้น่าชื่นชมทั้งเรื่องของการเงิน ความสำเร็จในสนาม และทิศทางในอนาคตที่น่าจะครองความยิ่งใหญ่ได้อีกหลายปี แต่ก็มีบางครั้งที่เดินหมากพลาดไปบ้างเพราะมองในแง่ธุรกิจจนเกินไป ไม่ได้คำนึงในมุมความเป็นตัวตนแห่ง "ลิเวอร์พูล" 

17. การเดินหมากพลาดในยุคของ FSG ที่ผ่านมาก็เช่น นโยบายทางการตลาดที่ใช้คำว่า "เปลี่ยนแฟนบอลให้เป็นลูกค้า" ซึ่งทำให้เดอะ ค็อป ไม่พอใจเพราะถูกมองเชิงดูหมิ่น เช่นเดียวกับแผนการที่จะขึ้นค่าตั๋วในฤดูกาล 2015/16 ก็ถูกต่อต้านอย่างหนัก รวมถึงการไปขอยื่นจดทะเบียนการค้าคำว่า "Liverpool" ที่ถูกวิจารณ์ว่าไม่เหมาะสมเพราะเหมือนอ้างสิทธิ์การเป็นเจ้าของชื่อเมืองไปด้วย 

18. ขณะเดียวกัน แมนเชสเตอร์ ซิตี้ ได้ประกาศจ่ายเงินให้ลูกจ้างทุกคนเต็มจำนวนเหมือนเดิมโดยไม่ขอเข้ารับมาตรการช่วยเหลือจากภาครัฐ เช่นเดียวกับ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ที่มีข่าวว่าจะดำเนินการแบบเดียวกันซึ่งท่าทีของ 2 ทีมจากแมนเชสเตอร์ถูกนำไปเปรียบเทียบในทางตรงกันข้ามกับ ลิเวอร์พูล 

19. สรุปเรื่องราวทั้งหมด ลิเวอร์พูล ไม่ได้ทำอะไรผิดเพราะดำเนินการตามมาตรการจากทางภาครัฐ ใช้สิทธิ์ของตัวเองที่พึงมี เพียงแต่พวกเขากำลังถูกตั้งคำถามถึงความเหมาะสมและความองอาจในศักดิ์ศรี-วิถีที่พวกเขาเคยภาคภูมิใจมาเนิ่นนาน

20. ลิเวอร์พูล ได้ทบทวนและมองตัวเองมากขึ้นจากเรื่องนี้ ต่อจากนี้ก็อยู่ที่ว่าจะ "เดินหน้าต่อไป" หรือ"ยอมถอย" 

(อัพเดตภายหลัง) : ลิเวอร์พูล เปลี่ยนการตัดสินใจเป็นไม่ขอเข้ารับการช่วยเหลือจากทางรัฐบาล


ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
ระดับ : {{val.member.level}}
{{val.member.post|number}}
ระดับ : {{v.member.level}}
{{v.member.post|number}}
ระดับ :
ดูความเห็นย่อย ({{val.reply}})

ข่าวใหม่วันนี้

ดูทั้งหมด