:::     :::

เสื้อแข่งซวยๆไม่ใช่เกิดแค่กับหงส์

วันอาทิตย์ที่ 12 มีนาคม 2566 คอลัมน์ Stars & Stripes โดย เจ.บาร์ท
859
ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
งามไส้กันไหมครับพี่ๆน้องๆเมื่อ ลิเวอร์พูล ของพวกท่านเจออาถรรพ์เสื้อแข่งอีแร้งเล่นงานในเกมลีกล่าสุดที่ออกไปแพ้บ๊วย บอร์นมัธ 0-1 แต่อย่าไปซีเรียสมากพวกท่านไม่ได้เดินเดียวดายเพราะหลายแฟรนไชส์เอ็นบีเอก็เคยมีเสื้อแข่งต้องคำสาปเช่นกัน

เอาที่บุคคลต้นเรื่องก่อน ‘หงส์แดง’ ขวัญใจมหาชน คงตั้งใจเสียเต็มประดาว่าการล่องมาเยือนไวทาลิตี้ สเตเดี้ยม ของบ๊วยอย่าง ‘เชอร์รี่ส์’ ขี้หมูขี้หมาคงชนะได้ 

แล้วก็ถือโอกาสปลดล็อคความซวยของเสื้อเยือนสีขาวที่ใส่มายังไม่มีปัญญาชนะใครในลีก 

ภาพรวม 4 หนก่อนนั้นแพ้ แมนฯ ยูไนเต็ด 1-2, แพ้ อาร์เซน่อล 2-3, แพ้ ฟอเรสต์ 0-1 และ เสมอ คริสตัล พาเลซ 0-0

แต่คุณพระลูกทีมของ เจอร์เก้น คล็อปป์ ที่ติดประมาทโดนทีเด็ดของ บอร์นมัธ สอยร่วงในครึ่งชั่วโมงแล้วก็หาทางเอาคืนไม่สำเร็จ 


เพราะขนาดได้จุดโทษ เพชฌฆาตมือหนึ่งอย่าง โมฮาเหม็ด ซาลาห์ ยังไม่มีปัญญาซัดตรงกรอบ 

บทสรุปเสื้อแข่งเยือน ไนกี้ ชุดขาวลายริ้วออกมา 5 เกมลีก แพ้ไป 4, เสมอ 1 ยิงได้ 3 และเสีย 7 ประตู 

ขี้เหร่จนไม่รู้สรรหาคำใดมาบรรยาย 

นั่นคือความซวยที่ฝั่งฝรั่งเมืองผู้ดี เราลองเข้ามหาสมุทรแอตแลนติกไปยังสหรัฐฯ เพื่อดูว่ามีความเชื่อเรื่องเสื้อแข่งต้องคำสาปบ้างไหม? 

ปรากฏมีเช่นกัน แล้วไม่ใช่แค่ทีมเดียวด้วย 


แอตแลนตา ฮอว์กส์ (1999-2007) 

ย้อนไปถึงช่วงรอยต่อทศวรรษ Y2K เกิดความเปลี่ยนแปลงกับเสื้อแข่งทีมซึ่งถือได้ว่าเป็นขาประจำเพลย์ออฟ 

เมื่อออกแบบเสื้อแข่งใหม่ให้มีรูปเหยี่ยวการ์ตูนปะกลางอกประกอบชื่อแฟรนไชส์ก่อนเข้าฤดูกาล 1999-2000

ปรากฏว่าทุกๆเกมที่สวมลงแข่งแพ้เรียบวุธ พร้อมเข้าสู่ยุคมืดที่ไม่สามารถผ่านไปเพลย์ออฟได้ต่อเนื่อง 8 ฤดูกาล 

กระทั่งมีการทดลองทำเสื้อแข่งสีน้ำเงินออกมาแก้เคล็ด พวกเขาค่อยผ่านไปแข่งโพสต์-ซีซั่น อีกครั้งฤดูกาล 2007-08 


คลีฟแลนด์ คาวาเลียร์ส (1981-84) 

คาวาเลียร์ส เป็นที่จดจำได้ง่ายของแฟนบาสฯเมื่อเลือกเสื้อแข่งพื้นหลักสีทองเกมเหย้า และสีไวน์ ในเกมเยือน ระหว่าง 1974-75 ถึงฤดูกาล 1980-81 

จนมีไฮไลต์ที่น่าจดจำของทีมคือชิงฯเอ็นบีเอ 1976 

แต่พอเข้าซีซั่น 1981-82 เกิดความเปลี่ยนแปลงของเสื้อแข่งที่เสริมแถบ 3 สี ‘ไวน์-ทอง-ขาว’ตามขอบหรือข้างลำตัว, กางเกง 

ผลที่ตามมาคือช่วงเวลาใช้งาน 2 ปี ชนะรวมแค่ 8 นัด 

ก็เพิ่งได้เสื้อแข่งคอวีสีพื้นเรียบๆ กู้สถานการณ์จนคืนสู่ทีมเพลย์ออฟอีกครั้งซีซั่น 1984-85 


มินเนโซตา ทิมเบอร์วูล์ฟส์ (2008-10) 

ประการแรก ทิมเบอร์วูล์ฟส์ แจ้งว่าสีประจำทีมได้แก่ ดำ, เงิน, ขาว, น้ำเงิน และเขียว 

โลโก้ที่ใช้ช่วงทศวรรษ ’90 ล่วงเลยถึงปลาย 2010 จึงมีทั้งหมาป่า และต้นไม้ ผสานไปกับชื่อแฟรนไชส์ 

แล้วไอ้เจ้าต้นไม้เจ้าปัญหาเมื่อนำไปผสมใส่บนเสื้อแข่งผลลัพธ์ออกมาไม่น่าพอใจเท่าไหร่ 

เริ่มจากซีซั่น 2008-09 ทีมชนะแค่ 24 จาก 82 เกม หากนั่นว่าแย่ซีซั่นต่อมาสถิติเหลือ 15-67 

ซึ่งผู้บริหารเหมือนจะมองประเด็นว่าเสื้อแข่งคือตัวปัญหาหาเช่นกัน เลิกใช้เจอร์ซี่ย์ที่มีต้นไม้แซมในฤดูกาล 2010-11 

จากนั้นผลงานองค์กรก็ฟื้นมาแต่ก็ใช้เวลาถึง 4 ปีกระทั่งแข็งแกร่งขึ้นในยุคฟร้อนต์คอร์ต เควิน เลิฟ 


ดีทรอยต์ พิสตันส์ (1978-81) 

พิสตันส์ เปิดตัวอย่างเท่กับการออกแบบเสื้อแข่งแบบที่ 3 ฤดูกาล 1978-79 ด้วยการเพิ่มสายฟ้าเข้าไปใต้ชื่อแฟรนไชส์คาดอก รวมถึงฟาดอสุนีบาตข้างกางเกง 

แล้วก็ไม่คิดว่ามันจะเฮี้ยนขนาดนั้นเพราะจากทีมจอมเหนียวแน่น กลายเป็นว่าช่วงสามปีที่คิดเอาพลังเสริมจากสายฟ้าฟาด 

กลับถูกวชิระของเข้าเสียเอง 67-179 เปอร์เซนต์ชนะเกมแค่ 27.2% เท่านั้น 

โกลเด้น สเตต วอร์ริเออร์ส (1997-2002) 

เป็นอีกแฟรนไชส์ที่ไม่ถูกโรคกับสายฟ้าฟาดนั่นคือ วอร์ริเออร์ส แห่งเบย์ แอเรีย

เริ่มจากฤดูกาล 1997-98 ทีมออกแบบเสื้อแข่งผนวกสายฟ้าเข้าไปกับชื่อแฟรนไชส์ วอร์ริเออร์ส แบบฟาดขวางลำตัว เท่านั้นไม่พอยังเลื้อยจากใต้รักแร้สองข้าง ลงไปถึงข้างกางเกง 

งานเข้าตั้งแต่ซีซั่นแรกเพราะทีมชนะเพียง 19 จาก 82 เกมฤดูกาลปกติ 

สี่ปีจากนั้นก็ฟุบยาว 21-29 (ซีซั่นติดล็อคเอาต์), 19-63, 17-65, และ 21-61 

เท่ากับตลอดห้าปีใต้อสุนีบาตสถิติ 97-281 โอกาสชนะเกมแค่ 25.7% 

คอลัมน์กีฬาบทความกีฬาต่างๆโดยนักวิเคราะห์ GURUชั้นนำของไทย มีให้ท่านได้เสพทุกวันที่เว็บไซต์ TH SPORT

ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
ระดับ : {{val.member.level}}
{{val.member.post|number}}
ระดับ : {{v.member.level}}
{{v.member.post|number}}
ระดับ :
ดูความเห็นย่อย ({{val.reply}})

ข่าวใหม่วันนี้

ดูทั้งหมด