:::     :::

ปัญหาคาราคาซัง

วันพุธที่ 28 กรกฎาคม 2564 คอลัมน์ Football Therapy โดย บี้ เดอะสปา
1,576
ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
ไม่น่าเชื่อว่าปัญหาคาราคาซังภายในสโมสร นิวคาสเซิ่ล ยูไนเต็ด จะสั่งสมมานานเกินทศวรรษแล้ว และจนถึงปัจจุบันก็ยังมองหาทางออกไม่เจอ

เสียงโห่อื้ออึงเกิดขึ้นทั้งในช่วงพักครึ่ง และหลังจบเกมที่ นิวคาสเซิ่ล อุ่นเครื่องบุกเสมอ ร็อทเธอร์แฮม ทีมระดับลีกวัน 1-1 ชนิดต้องไล่ตีเสมอท้ายเกม

ถามว่า แค่ผลการแข่งขันในเกมอุ่นเครื่อง มีความสำคัญนักหรอ? เหตุผลแท้จริงของแฟนบอล คงไม่ใช่เรื่องนั้น แต่มาจากหลายๆ ปัญหาที่เกิดขึ้น และสะสมมานานแล้ว
และยิ่งหงุดหงิดเข้าไปใหญ่ เพราะในช่วงซัมเมอร์นี้ ทีมยังไม่มีการเสริมทัพเลยแม้แต่คนเดียว
เป้าโจมตียังคงเป็นเป้าใหญ่เป้าเดิม ไมค์ แอชลี่ย์ เจ้าของสโมสร รวมถึงผู้จัดการทีม สตีฟ บรูซ ที่ทำทีมลุ่มๆ ดอนๆ มาตลอดสองฤดูกาลที่ผ่านมา แต่บอร์ดบริหารไม่มีแนวทางการเปลี่ยนแปลง
ที่เอ่ยว่า ปัญหาภายในของ นิวคาสเซิ่ล สะสมมานาน คงต้องย้อนกลับไปตั้งแต่ที่ แอชลี่ย์ เข้ามาเทกโอเวอร์สโมสรเมื่อปี 2007
เดิมทีได้รับเสียงตอบรับที่ดีจากแฟนบอล แต่ภายหลังเกิดปัญหาขึ้นกับ เควิน คีแกน ผู้จัดการทีมที่เป็นขวัญใจแฟนๆ ก็ทำให้สถานการณ์พลิกจากหน้ามือเป็นหลังเท้า
ในช่วงเวลานั้น ไม่เพียงแต่ แอชลี่ย์ ที่ถูกตำหนิจากการลาออกของ คีแกน แต่ตัวละครที่เป็นปัญหาอีกคนคือ เดนนิส ไวส์ ที่ตอนนั้นมีบทบาทผู้อำนวยการฟุตบอลของสโมสร
ยังไม่ทันพ้นขวบปีแรก แอชลี่ย์ ออกแถลงการณ์ขายสโมสร แต่ยังไม่ทันผ่านพ้นปี 2008 ก็ประกาศยุติการขาย หลังจากล้มเหลวในการติดต่อหาผู้ซื้อที่ยอมรับข้อเสนอ
สถานการณ์ของ แอชลี่ย์ กับแฟนบอลเข้าขั้นวิกฤติ เมื่อ นิวคาสเซิ่ล มีอันต้องตกชั้นจากพรีเมียร์ลีก และมีความพยายามที่จะขายสโมสรอีกครั้ง แต่ก็ไม่สามารถตกลงกับผู้ซื้อได้เหมือนเดิม
ภายหลังเลื่อนชั้นกลับสู่พรีเมียร์ลีกเพียงปีเดียว แฟนๆ สาลิกาดง พอได้ลืมเรื่องร้ายๆ ไปบ้าง จากการที่ อลัน พาร์ดิว พาทีมบินสูงจบถึงอันดับ 5 พรีเมียร์ลีกในฤดูกาล 2011-12 ที่เหลือต้องดิ้นรนหนีการตกชั้นเสียเป็นส่วนใหญ่
ในวันสุดท้ายของฤดูกาล 2014-15 แอชลี่ย์ ให้สัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์สกายสปอร์ตเป็นครั้งแรก หลังจาก 8 ปีที่เทกโอเวอร์สโมสร เป็นการยืนยันอีกครั้งว่าจะขายสโมสร เป็นช่วงเวลาเดียวกันกับที่แฟนบอลนัดกันชูป้าย 'ไมค์ แอชลี่ย์ เอาท์'
10 เดือนต่อมา แอชลี่ย์ ยอมรับว่าตนเองเสียใจที่เข้ามาซื้อสโมสร นิวคาสเซิ่ล และในฤดูกาล 2015-16 สาลิกาดง ก็ตกชั้นจากพรีเมียร์ลีกเป็นครั้งที่สองภายใต้การครอบครองของ แอชลี่ย์
ตุลาคม ปี 2017 นิวคาสเซิ่ล ประกาศว่า แอชลี่ย์ ปักป้ายขายสโมสรอีกครั้ง และมีการเจรจาอย่างจริงจังกับ อาแมนดา สเตฟลี่ย์ นักธุรกิจหญิงครั้งแรกในปี 2018 แต่ไม่ประสบความสำเร็จ
และความพยายามครั้งที่สอง อาแมนดา เป็นแกนนำในการเจรจาของกลุ่มทุนจากซาอุดิอาราเบีย ที่ข้อตกลงมูลค่า 300 ล้านปอนด์มีความใกล้เคียงมากๆ แต่ก็เต็มไปด้วยความซับซ้อน และมีการวิพากษ์วิจารณ์เรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน และละเมิดลิขสิทธิ์การถ่ายทอดกีฬา
จนท้ายสุดแล้ว กลุ่มทุนจากซาอุดิอาราเบีย ก็ประกาศถอนตัวจากข้อตกลงในการลงทุนกับสโมสร นิวคาสเซิ่ล
ถึงตอนนี้เป็นเวลา 14 ปีแล้วที่ แอชลี่ย์ เป็นผู้ครอบครองกิจการสโมสร และเป็นช่วงเวลา 13 ปี นับตั้งแต่ แอชลี่ย์ ประกาศจะขายสโมสรเป็นครั้งแรก
แฟนบอล นิวคาสเซิ่ล มักตั้งคำถามเรื่องความทะเยอทะยานของสโมสร และการลงทุนเสริมทัพของ แอชลี่ย์
แต่ตลอดสองปีที่ผ่านมา ก็มีการซื้อในระดับแพงๆ ให้เห็น อย่างซัมเมอร์ปี 2019 โชลินตอน 40 ล้านปอนด์, อัลล็อง แซงต์-มักซิแม็ง 20 ล้านปอนด์ และซัมเมอร์ปีที่แล้วก็จัด คัลลัม วิลสัน 20 ล้านปอนด์, จามาล ลูอิส 15 ล้านปอนด์
ทว่า ซัมเมอร์ปีนี้ เหลือเวลาอีกเพียงสองสัปดาห์เศษๆ พรีเมียร์ลีกฤดูกาล 2021-22 ก็จะเปิดฉากแล้ว สถานการณ์ในตลาดซื้อขายของ นิวคาสเซิ่ล ยังคงเงียบเชียบ ทั้งการเซ็นสัญญาถาวร หรือแม้แต่สัญญายืมตัว
นั่นคือเหตุผลหลักที่ทำให้แฟนๆ นิวคาสเซิ่ล พร้อมใจกันโห่ในเกมอุ่นเครื่องล่าสุด

คอลัมน์กีฬาบทความกีฬาต่างๆโดยนักวิเคราะห์ GURUชั้นนำของไทย มีให้ท่านได้เสพทุกวันที่เว็บไซต์ TH SPORT

ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
ระดับ : {{val.member.level}}
{{val.member.post|number}}
ระดับ : {{v.member.level}}
{{v.member.post|number}}
ระดับ :
ดูความเห็นย่อย ({{val.reply}})

ข่าวใหม่วันนี้

ดูทั้งหมด