:::     :::

ซีซั่นทดลองของ'ฟอเรสต์'

วันพุธที่ 08 กุมภาพันธ์ 2566 คอลัมน์ Football Therapy โดย บี้ เดอะสปา
1,040
ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
เราได้เห็น น็อตติงแฮม ฟอเรสต์ สร้างปรากฏการณ์ในซีซั่นนี้ การเสริมทัพกระจุยกระจาย ตามด้วยการทุบสถิติส่งนักเตะใหม่ลงเล่นมากที่สุดของพรีเมียร์ลีก

การใช้งาน เกย์เลอร์ นาวาส ลงเฝ้าเสาในเกมชนะ ลีดส์ ยูไนเต็ด 1-0 และ อันเดร อายิว ที่ลงสำรองช่วงท้ายของเกมเดียวกัน กลายเป็นนักเตะใหม่ที่ประเดิมสนามกับทีมรายที่ 21 และ 22 ของ สตีฟ คูเปอร์ ในฤดูกาล 2022-23

สถิติเดิมเป็นของ พอร์ทสมัธ ที่ทำเอาไว้ 21 คนในฤดูกาล 2005-06 จากการคุมทีมของ อแล็ง แปร์กแร็ง ในช่วงแรก และ แฮร์รี่ เร้ดแน็ปป์ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนเป็นต้นไป
สองเหตุผลหลักๆ ที่ทำให้ น็อตติงแฮม ฟอเรสต์ ทำลายสถิตินี้
หนึ่ง เจ้าของสโมสร เอวานเจลอส มารินาคิส มีงบประมาณเสริมทัพมหาศาลระดับสโมสรแถวหน้าของพรีเมียร์ลีกเลย เป้าหมายเบื้องต้นคือการรับประกันการอยู่รอดให้ได้ในฤดูกาลแรก
และสอง ขนาดทีมที่เล็กลงอย่างมาก หลังจบซีซั่นที่แล้วที่คว้าแชมป์ในการเพลย์ออฟ เลื่อนชั้น
ผู้รักษาประตูขายมือหนึ่ง บริซ แซมบ้า ออกไป แนวรับก็เหลือแค่ โจ วอร์รอลล์, สกอตต์ แม็คเคนน่า, สตีฟ คุ้ก แค่สามคน แดนกลางยิ่งหนักกว่ามีเพียง ไรอัน เยทส์ กับ แจ็ค โคลแบ็ค และแดนหน้าก็คงอยู่แค่ เบรนแนน จอห์นสัน กับ แซม เซอร์ริดจ์
นับแล้วทีมของ คูเปอร์ เหลือนักเตะในทีมชุดใหญ่แค่ 7 คน ที่เหลือเป็นการปล่อยตัว ไม่ว่าจะเป็นการขายขาด ปล่อยยืม หรือหมดสัญญา
นั่นคือสาเหตุที่ทำให้ มารินาคิส อนุมัติงบประมาณมหาศาลดึงนักเตะใหม่เข้ามาสู่ทีมมากถึง 20 คนในช่วงตลาดซัมเมอร์ นี่ยังไม่นับสามคนที่ซื้อเข้ามาแล้วปล่อยยืมทันที
และตลาดวินเทอร์ก็ดึงนักเตะใหม่เข้ามาอีก 7 คนทั้งซื้อขาด และยืมตัว
22 นักเตะที่ได้ประเดิมกับ ฟอเรสต์ จนกลายเป็นสถิติใหม่ของพรีเมียร์ลีกภายในฤดูกาลเดียว ประกอบไปด้วย ดีน เฮนเดอร์สัน, ชูเลียง บียองกอน, โอเรล ม็องกาล่า, เนโก้ วิลเลียมส์, ไทโว อาโวนิยี่, มอร์แกน กิ๊บบ์ส-ไวท์, เจสซี่ ลินการ์ด, เวย์น เฮนเนสซี่ย์, ลูอิส โอไบรอัน, แฮร์รี่ ทอฟโฟโล่, มุสซ่า เนียคาเต้, ชีคคู คูยาเต้, เรโม่ ฟรอยเลอร์, แซร์ช โอรีเยร์, เอ็มมานูเอล เดนนิส, วิลลี่ โบลี่, เรนาน โลดี้, คริส วูด, ดานีโล่, กุสตาโว่ สการ์ปา, เกย์เลอร์ นาวาส, อันเดร อายิว
และยังมีอีกสามคนที่รอประเดิมสนาม จอนโจ เชลวี่ย์, เฟลีเป้ สองแข้งใหม่ตลาดมกราคม และ โอมาร์ ริชาร์ดส์ ที่ย้ายมาตั้งแต่ซัมเมอร์ แต่บาดเจ็บพักยาว จึงอาจได้เห็นสถิตินี้ไปจบที่ตัวเลข 25 คนก็เป็นได้
แม้ ฟอเรสต์ มีงบประมาณเสริมทัพมหาศาล แต่การเริ่มต้นในพรีเมียร์ลีกของ คูเปอร์ ไม่มีอะไรง่ายดาย
การสร้างทีมจากนักเตะใหม่หลายต่อหลายคน ต้องใช้เวลาในการสร้างทีมเวิร์ค หลายคนยังต้องปรับตัวเล่นในพรีเมียร์ลีกด้วย
ฟอเรสต์ จมบ๊วยตั้งแต่เดือนตุลาคม มาจนถึงต้นเดือนพฤศจิกายน และเพิ่งโผล่พ้นโซนแดงในช่วงเปลี่ยนปฏิทินเป็นปี 2023
ถึงตอนนี้ ฟอเรสต์ ขยับเขยื้อนขึ้นสู่อันดับ 13 หลังจากผลงานในพรีเมียร์ลีก 10 เกมหลังสุดที่ยอดเยี่ยม ชนะ 5 เสมอ 3 แพ้ 2 ทั้งที่ก่อนหน้านั้น 11 เกมแรก คว้าชัยชนะได้เพียงเกมเดียวเท่านั้น
ซีซั่นแรกในพรีเมียร์ลีกจึงถือเป็นการทดลองทีมของ ฟอเรสต์ ไปในตัว เป้าหมายขอแค่รอดตกชั้น และจบอันดับให้สูงที่สุด ถ้าเป็นไปได้ครึ่งบนของตารางก็คงดี
หากเป็นไปตามแผนที่วางเอาไว้ ซีซั่นที่สองเราอาจได้เห็น น็อตติงแฮม ฟอเรสต์ ทุ่มดึงสตาร์ดังเข้ามาเสริมทัพมากขึ้นอีก เพื่อยกระดับตัวเองให้ไปในแนวทางเดียวกับ นิวคาสเซิ่ล

คอลัมน์กีฬาบทความกีฬาต่างๆโดยนักวิเคราะห์ GURUชั้นนำของไทย มีให้ท่านได้เสพทุกวันที่เว็บไซต์ TH SPORT

ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
ระดับ : {{val.member.level}}
{{val.member.post|number}}
ระดับ : {{v.member.level}}
{{v.member.post|number}}
ระดับ :
ดูความเห็นย่อย ({{val.reply}})

ข่าวใหม่วันนี้

ดูทั้งหมด