:::     :::

ความสัมพันธ์ที่ไม่น่าเกิดขึ้นได้ (1)

วันอาทิตย์ที่ 17 พฤษภาคม 2563 คอลัมน์ ผีตัวที่ 13 โดย โกสุ่ย
10,056
ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
บางครั้ง เรื่องราวความสัมพันธ์ก็เกิดขึ้นในแบบที่เราไม่รู้ตัว

มันเข้ามาและดำเนินไปจนมารู้สึกตัวอีกทีก็กลายเป็นสิ่งที่เราขาดไม่ได้ แต่ต้องการสานสัมพันธ์นั่นต่อไปให้นานกว่าเดิม

เรื่องราวเหล่านี้เคยเกิดขึ้นกับ พัค ชี-ซอง อดีตกองกลางแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ที่เก็บประเป๋าย้ายไปยังอังกฤษ ซึ่งถือเป็นเส้นทางสายใหม่และเต็มไปด้วยสายตาที่จับจ้องเขาตลอดทาง

การเดินทางครั้งสำคัญกับการเป็นนักเตะเกาหลีใต้คนแรกในรั้ว โอลด์ แทรฟฟอร์ด และสามารถพุ่งชนความสำเร็จได้อย่างมากจนกลายมาเป็นหนึ่งในนักเตะขวัญใจแฟนบอลจนถึงปัจจุบันนี้

แต่การเดินทางของเขาต้องเจอเรื่องราวมากมาย หนึ่งในนั้นคือการปรับตัวให้เขากับ ภาษา, วัฒนธรรม และฟุตบอลแบบใหม่ ซึ่งมันมาพร้อมกับมิตรภาพที่ยังคงยาวนานถึงทุกวันนี้ 

ต่อจากนี้คืองานเขียนของ พัค ชี-ซอง ที่ลงไว้ในคอลัมน์ UTD UNSCRIPTED บนเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด (https://www.manutd.com/en/news/detail/utd-unscripted-ji-sung-park-on-unlikely-friendships-formed-at-united) 



... ในตอนที่ผมมาถึงที่เมืองแมนเชสเตอร์ครั้งแรก ผมมีเรื่องที่ต้องรับมือกับกำแพงด้านภาษา

ผมเพิ่งใช้เวลา2 ปีครึ่งในฮอลแลนด์โดยการเล่นให้กับ พีเอสวี ไอน์ดโฮเฟ่น และขณะที่ผมอยู่ที่นั่นผมได้ตัดสินใจเรียนทั้งภาษาดัตช์และภาษาอังกฤษ ซึ่งมั่นยากมาก แต่ผมคิดว่ามันออกมาดีเพราะก่อนหน้านี้ผมไม่รู้อะไร (หมายถึงไม่รู้ อะไรเลย) ไปมากกว่าภาษาเกาหลีและภาษาญี่ปุ่น การมีพื้นฐานภาษาอังกฤษได้ช่วยผมในตอนที่ย้ายไปร่วมทีม ยูไนเต็ด เมื่อปี 2005 เพราะผมอยากสื่อสารกับนักเตะคนอื่นๆ และนั่นคือสิ่งที่สำคัญสำหรับผมในการปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมของสโมสร

ในตอนแรก มีนักเตะสองคนที่มีส่วนช่วยให้ผมปรับตัวได้อย่างมาก และพวกเขาต่างเป็นชาวดัตช์: รุด ฟาน นิสเตลรอย และ เอ็ดวิน ฟาน เดอร์ ซาร์

เอ็ดวิน ย้ายมาร่วมทีมเกือบจะในเวลาเดียวกับผม ซึ่งเกิดขึ้นในตลาดซื้อขายนักเตะช่วงเดียวกัน และเขาเคยมีประสบการณ์ในเวทีพรีเมียร์ลีกมาก่อนกับ ฟูแล่ม และทาง รุด อยู่กับสโมสรมาพอสมควร ซึ่งเขายอดเยี่ยมอย่างมากในการอธิบายเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของสโมสรให้ผมได้ฟัง การได้อยู่ที่ฮอลแลนด์มาก่อนมันช่วยผมได้อย่างมาก โดยเฉพาะกับ รุด เพราะว่าเขาเคยเล่นที่ พีเอสวี มาก่อนเช่นเดียวกัน ผมไม่ได้พูดว่าภาษาอังกฤษของผมดีมากในตอนนั้น แต่มันดีกว่าภาษาดัตช์ของผม ดังนั้นเราจึงใช้ภาษาอังกฤษคุยกัน และพวกเขาทั้งสองช่วยผมให้ปรับตัวได้อย่างมาก

ภาษา ถือเป็นความแตกต่างหลักๆ ระหว่างอังกฤษและฮอลแลนด์ ดังนั้น นั่นคือปัญหาใหญ่เพียงเรื่องเดียวของผมในการปรับตัว และผมพัฒนาไปอย่างช้าๆ ตามเวลาที่ผ่านไป การเรียนรู้ด้านภาษา, เรียนรู้การเล่นของฟุตบอลว่าอังกฤษว่าเป็นแบบไหน และเรียนรู้ถึงความหมายในการเล่นให้ ยูไนเต็ด




ไม่กี่เดือนต่อมาหลังจากผมย้ายมาร่วมทีม ชายฝรั่งเศสตัวเล็กคนนี้ก็โผล่เข้ามา

มันไม่ใช่ครั้งแรกที่ผมได้พูดคุยกับ ปาทริซ เอฟร่า เพราะในตอนที่ผมลงเล่นให้ พีเอสวี เราเคยดวลกับในตอนที่เขาเป็นนักเตะ อาแอส โมนาโก ในศึก แชมเปี้ยนส์ ลีก ซึ่งผมคิดว่าน่าจะเป็นรอบ 16 ทีมสุดท้าย ดังนั้นผมถึงรู้จักเขาจากเกมนั้น

ตอนแรกเราไม่ได้สนิทกัน เขาก็เพิ่งย้ายมาร่วมทีม ผมเพิ่งย้ายไปอยู่ที่นั่นได้ราวๆ 6 เดือน และในทีมก็มีนักเตะฝรั่งเศสที่ช่วยให้เขาปรับตัวได้เช่นกัน ซึ่งมีทั้ง หลุยส์ ซาฮา และ มิกาแอล ซิลแวสต์ ที่ช่วยเหลือเอาไว้อย่างมาก

ในตอนแรกๆ เราไม่ได้อยู่ด้วยกัน หลังจากนั้น ผมไม่ทราบจริงๆ ว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร แต่เราก็เริ่มสนิทสนมกันมากขึ้นอย่างช้าๆ เขาย้ายไปท่ อัลเดอร์ลี่ย์ เอดจ์ และต่อมาเขาก็แนะนำผมให้ย้ายไปที่นั่นด้วย มันทำให้เราอาศัยใกล้กันรวมไปถึงพวกเราต่างชอบเล่นวิดีโอเกมส์ ในตอนนั้นผมคิดว่าพวกเราเล่นเกม โปร อีโวลูชั่น ซอคเกอร์ ซึ่งในตอนที่เราเริ่มเล่นเกม เราต่างใช้เวลาด้วยกันเพื่อทานอาหารเย็นในบ้านของใครคนหนึ่ง รวมไปถึงเล่นเกม ซึ่งพวกเราเริ่มสนิทกันมากขึ้นผ่านเรื่องสิ่งนั้น ผมไม่ได้พูดภาษาฝรั่งเศส เขาก็ไม่ได้พูดภาษาเกาหลี และภาษาอังกฤษพวกเราทั้งคู่ก็ไม่ได้ดีไปกว่ากันเลย ดังนั้นผมเลยเดาว่าภาษาฟุตบอลได้ช่วยพวกเรา

ปาทริซ เป็นคนเสียงดัง ตอนนี้ทุกๆ คนรู้เรื่องนั้น บางทีอาจจะเป็นท็อป 3 ในกลุ่ม ริโอ, แกรี่, ปาทริซ ผมคิดว่าทุกๆ คนอาจจะเดาว่าสามคนนี้เสียงดังที่สุดในห้องแต่งตัว




ดังนั้น ผมจึงไม่ทราบจริงๆ ว่าระหว่างผมกับ ปาทริซ กลายมาเป็นเพื่อนซี้กันได้อย่างไร แต่มันเกิดขึ้น จากนั้นในตอนที่ คาร์ลอส เตเวซ ย้ายมาร่วมทีมเมื่อปี 2007 พวกเราทั้งสามคนกลายเป็นเพื่อนสนิทกัน ซึ่งเป็นอีกครั้งที่ผมไม่รู้สาเหตุ

เขาพูดภาษาสเปน ปาทริซ สามารถพูดภาษาสเปนได้เช่นกัน และทันใดนั้นเราก็เป็นเพื่อนกัน หลังจากการซ้อมเราจะเล่นการยิงสองจังหวะในสนามด้วยกัน และจากนั้นมันเริ่มเป็นสิ่งที่พวกเราทำในทุกๆ ครั้งไม่ว่าจะในหรือนอกสนาม แม้ว่าผมจะไม่สามารถสื่อสารกับ คาร์ลอส ได้ เพราะว่าผมไม่สามารถพูดภาษาสเปนได้และตอนนั้นเขาก็พูดอังกฤษไม่ได้ ปาทริซ เลยทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการแปลบทสนทนาของพวกเราทั้งหมด

เราจะเลือกเอาคำบางคำจากภาษาของแต่ละคน (เกาหลี, ฝรั่งเศส, สเปน) แต่มีแค่ไม่กี่คำเท่านั้น บางครั้งก็เป็นตำพูดที่ไม่ดี แต่หลักๆ แล้วเราพูดอังกฤษกัน และ ปาทริซ จะเป็นคนแปลเมื่อเขาต้องการ เพราะผมคิดว่า คาร์ลอส พูดอังกฤษได้แต่เขาไม่อยากพูด




ทุกๆ ครั้งที่เราทานอาหารเย็นด้วยกัน ที่โรงแรม หรือแม้แต่ระหว่างอบอุ่นร่างกายก่อนเกม เราทั้งสามก็อบอุ่นร่างกายด้วยกัน พวกเราก็แค่อยู่ด้วยกันเสมอๆ ไม่ว่าจะเป็นบนเครื่องบินสำหรับการออกไปเล่นเกม แชมเปี้ยนส์ ลีก, การเดินทางด้วยรถไฟในการที่ต้องออกไปเยือนในอังกฤษ เราก็จะนั่งอยู่ด้วยกันเสมอ มันเกิดขึ้นอย่างอย่างราบรื่น และแม้ว่าเราจะไม่ได้พูดภาษาเดียวแต่เราก็มีความสุขด้วยกัน เราทุกคนต่างอบอุ่นใจ ทุกๆ คนจะรู้สึกสบายใจกับใครบางคน และแม้ว่าเราจะไม่ได้สื่อสารกันโดยตรง พวกเราก็แค่รู้สึกอบอุ่นใจระหว่างพวกเราทั้งสาม

สภาพแวดล้อมช่วยได้เช่นกัน เพราะว่าเราทั้งสามคนต่างมีความสุขกับสิ่งที่เกิดขึ้นในทีม มันเป็นช่วงเวลาที่ดีมากๆ สำหรับผมไม่ว่าจะทั้งในหรือนอกสนาม เราเป็นเพื่อนที่ดีต่อกันและบางครั้งเราใช้เวลาร่วมกันมากกว่าที่เราให้กับครอบครัว ในสถานการณ์นั้น หนึ่งในสิ่งที่สำคัญที่สุดที่มี: คือความรู้สึกพิเศษกับนักเตะคนอื่นๆ 


(ติดตามต่อวันพฤหัสบดี)








คอลัมน์กีฬาบทความกีฬาต่างๆโดยนักวิเคราะห์ GURUชั้นนำของไทย มีให้ท่านได้เสพทุกวันที่เว็บไซต์ TH SPORT

ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
ระดับ : {{val.member.level}}
{{val.member.post|number}}
ระดับ : {{v.member.level}}
{{v.member.post|number}}
ระดับ :
ดูความเห็นย่อย ({{val.reply}})

ข่าวใหม่วันนี้

ดูทั้งหมด