:::     :::

การชิงพื้นที่ของฟูลแบ็ก

วันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม 2564 คอลัมน์ ผีตัวที่ 13 โดย โกสุ่ย
1,614
ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
อยู่ในช่วงที่โควิด-19 กลับมาเล่นงานฟุตบอลพรีเมียร์ลีกอีกครั้ง ทำให้หลายคู่ถูกยกเลิกในช่วงที่ผ่านมา

โดยเฉพาะ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ที่กลายมาเป็นสโมสรซึ่งเจอปัญหาอย่างหนัก เกมการแข่งขันถูกเลื่อนออกไปแล้ว 2 นัด และมีทีท่าว่าจะยังไม่คลี่คลายในเร็วๆ นี้

เกมต่อไปของขุนพลปิศาจแดงถูกวางไว้ช่วงหลังคริสต์มาส หรือวันที่ 27 ธันวาคมซึ่งจะออกไปดวล นิวคาสเซิ่ล แต่จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นยังลูกผีลูกคนว่าจะลงเล่นได้หรือไม่ เพราะไม่เพียงแค่ฝั่ง ยูไนเต็ด ที่เจอปัญหา แต่ทีมอื่นๆ ก็ทยอยตรวจพบการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง

ดีไม่ดีสองเกมที่เหลือกับ สาลิกาดง และนัดส่งท้ายปี 2021 ที่จะเปิด โอลด์ แทรฟฟอร์ด รับมือ เบิร์นลี่ย์ อาจจะแข่งไม่ได้ ซึ่งต้องติดตามอย่างใกล้ชิดว่าสถานการณ์จะเป็นเช่นไร และทางพรีเมียร์ลีกจะแสดงท่าทีเช่นไรออกมา

เรื่องดังกล่าวต้องตามแบบวันต่อวัน เพราะทางการอังกฤษก็กำลังปวดหัวกับจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่เพิ่มอย่างต่อเนื่อง และตอนนี้ต้องรับมือรอบด้านเพื่อคุมสถานการณ์ให้ดีที่สุด




นั่นคือเรื่องราวที่เกิดขึ้นในเวทีพรีเมียร์ลีก ซึ่งมีหลายฝ่ายมองว่าส่อเค้าที่อาจจะต้องเจอกับการพักเบรกหรือหยุดการแข่งขันอีกครั้ง แต่ทั้งหมดทั้งมวลขึ้นอยู่กับสถานการณ์หลังจากนี้

มีทุกความเป็นไปได้ ซึ่งการตัดสินใจอยู่ที่ลีกว่าจะทำเช่นไรต่อไป

มากันที่หัวข้อหลัก แม้ แมนฯ ยูไนเต็ด จะไม่ได้ลงสนามมา 2 นัดแล้ว แต่ยังมีเรื่องน่าสนใจและน่าตั้งคำถามถึงทิศทางหลังจากนี้โดยเฉพาะการแย่งตำแหน่งในพื้นที่ 'ฟูลแบ็ก'

ก่อนหน้านี้ในยุคสมัย โอเล่ กุนนาร์ โซลชา เทรนเนอร์ชาวนอร์เวย์ใช้บริการ ลุค ชอว์ และ อารอน วาน-บิสซาก้า เป็นขาประจำซึ่งยึดพื้นที่เป็นสัมปทานของตนเอง ชนิดที่ว่าหากไม่เจ็บป่วยหรือติดโทษแบนก็ต้องได้ลงสนามแย่างแน่นอน

ผลงานถือว่าดูดีโดยเฉพาะ ชอว์ ที่สร้างฟอร์มยอดเยี่ยมจนแฟนบอลกล่าวชมและกลับไปติดทีมชาติอังกฤษอีกครั้ง ไม่ต่างจาก วาน-บิสซาก้า ได้กลายมาเป็น 'ไอ้แมงมุม' ของสาวกปิศาจแดงที่โชว์การสกัดคู่แข่งงามๆ ในหลายจังหวะ (แม้ว่าช่วงหลังจะมีหลุดไปบ้างก็ตาม)

ทำให้คนอื่นๆ ในทีมแทบจะไม่มีโอกาส โดยเฉพาะ ดีโอโก้ ดาโต์ ถูกปล่อยตัวไปให้ เอซี มิลาน ยืมใช้งานในซีซั่นที่แล้ว ไหนจะ อเล็กซ์ เตลลิส ที่แทบไม่ได้โอกาสเพราะผลงานที่ดีของ ชอว์



สถิติใน พรีเมียร์ลีก ซีซั่นนี้ ของ อารอน วาน-บิสซาก้า


แต่ทุกอย่างกำลังเปลี่ยนแปลงไปเมื่อเข้าสู่ยุค ราล์ฟ รังนิก แม้ว่าส่วนหนึ่งมาจากสาเหตุที่ ชอว์ กับ 'AWB' มีอาการบาดเจ็บเล่นงาน แต่ต้องยกเครดิตให้ ดาโลต์ และ เตลลิส ที่ทำผลงานได้ดีจนสามารถทดแทนได้อย่างไม่มีปัญหา

นอกจากนั้นยังดูเหมือนว่าวิงแบ็กชาวโปรตุเกสและบราซิลเล่นได้ตามระบบของ รังนิก ทั้งในส่วนการเติมเกมรุกช่วยทีม หรือเกมป้องกันที่ทำงานได้ดีในช่วงที่ผ่านมา โดยเฉพาะ เตลลิส ที่กำลังถูกพูดถึงไม่ว่าในส่วนผลงาน, แพสชั่น หรือความทุ่มเทที่แสดงออกมาบนสนาม

นั่นจึงเป็นคำถามว่าหลังจากนี้ทิศทางการใช้งานฟูลแบ็กของ รังนิก จะเป็นเช่นไร หากทาง ชอว์ และ วาน-บิสซาก้า ฟิตสมบูรณ์หรือหายเจ็บกลับมาพร้อมใช้งานอีกครั้ง ดาโลต์ กับ เตลลิส จะหลุดเป็นตัวสำรองอีกครั้งหรือไม่?

คนที่จะให้คำตอบได้ชัดเจนคือ รังนิก เพราะเทรนเนอร์วัย 63 ปีคือคนสุดท้ายในการตัดสินใจว่าจะส่งใครลงสนาม ส่วนคนนอกทำได้เพียงคาดเดาหรือวิเคราะห์ตามที่เห็นเท่านั้น



สถิติใน พรีเมียร์ลีก ซีซั่นนี้ ของ ดีโอโก้ ดาโลต์


ที่น่าสนใจคือผลงานที่ออกมาของ เตลลิส และ ดาโลต์ ไม่ได้แตกต่างจาก ชอว์ หรือ วาน-บิสซาก้า โดยเฉพาะ ดาโลต์ ที่ถูกมองว่าครบเครื่องกว่าแบ็กขวาชาวอังกฤษ เพราะแข้งโปรตุเกสมีการเติมเกมที่แน่นอนแถมหวังผลได้ดีในจังหวะครอสหรือสอดไปสุดเส้นหลัง

'AWB' ทำผลงานเกมป้องกันได้ยอดเยี่ยม แต่ต้องกลายมาเป็นนักเตะธรรมดาไปทันทีในตอนเติมเกมรุก ต่างจาก ดาโลต์ ที่ถือว่ามีสมดุลทั้งรุกและรับมากกว่า นอกจากนั้นดูเหมือนจะเข้าขากับบรดาเพื่อนชาวโปรตุเกสอย่าง โรนัลโด้ และ บรูโน่ อีกด้วย

กรณีของ เตลลิส กับ ชอว์ อาจจะเอนเอียงไปทางแข้งแบ็กอังกฤษเพราะได้โอกาสลงสนามมากกว่าทำให้หลายคนได้เห็นฝีเท้าอย่างต่อเนื่อง แต่ทางแข้งแซมบ้าก็มีดีในตัวเองและทำผลงานได้ดีเมื่อได้รับโอกาส โดยเฉพาะลูกครอสอันเป็นเอกลักษณ์แถมจังหวะยิงจากแถวสองก็ถือว่ามีดีพอตัว



สถิติใน พรีเมียร์ลีก ซีซั่นนี้ ของ อเล็กซ์ เตลลิส




สถิติใน พรีเมียร์ลีก ซีซั่นนี้ ของ ลุค ชอว์



หากไปดูจากสถิติจาก 5 นัดในลีกซีซั่นนี้ของ เตลลิส มีการจดสถิติลูกครอสออกมาที่ 22 ครั้ง (เข้าเป้า 18%) ส่วน ชอว์ ที่ลงเล่นไป 12 นัดมาพร้อมการครอสทั้งหมด 68 ครั้ง (เข้าเป้า 29%) นอกจากนั้นยังมีสถิติการเอาชนะคู่แข่งซึ่งทางแบ็กบราซิลทำได้ 31 ครั้ง (แพ้ 24) และแข้งอังกฤษอยู่ที่ 45 ครั้ง (แพ้ 47)

ทั้ง 4 รายต่างมีข้อดีข้อเสียของแต่ละคน ขึ้นอยู่กับว่า รังนิก จะมองหรือวิเคราะห์เช่นไร และใช้งานนักเตะในสถานการณ์ใด แต่การแข่งขันของทุกๆ คนหลังจากนี้จะเป็นผลดีต่อทีมแน่นอน เพราะเมื่อโอกาสเปิดกว้างแต่ละคนพร้อมแสดงตัวตนและคุณค่าออกมาเพื่อก้าวไปยืนอยู่ในพื้นที่ 11 ตัวจริง

เมื่อการแข่งขันในทีมเกิดขึ้นจะกลายเป็นตัวเร่งพัฒนาผลงาน ต่างฝ่ายต่างพยายามงัดศักยภาพเพื่อพัฒนาฝีเท้าให้กลายมาเป็นตัวเลือกอันดับ 1 

ขึ้นอยู่กับว่า รังนิก ต้องการให้เกมการเล่นของทีมออกมาเช่นไร เพราะฟูลแบ็กถือเป็นอีกหนึ่งตำแหน่งสำคัญในการขับเคลื่อนเกมและคอยช่วยสอดประสานการเล่นให้เป็นไปตามทิศทางของกุนซือชาวเยอรมัน

แต่ละคนมีรูปแบบของตนเองและสามารถตอบโจทย์ที่แตกต่างกันได้ อยู่ที่ว่า ราล์ฟ รังนิก ต้องการอะไรจากแข้งเหล่านี้และจะวางให้ใครเป็นตัวเลือกลำดับแรกในทีมของตนเอง



คอลัมน์กีฬาบทความกีฬาต่างๆโดยนักวิเคราะห์ GURUชั้นนำของไทย มีให้ท่านได้เสพทุกวันที่เว็บไซต์ TH SPORT

ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
ระดับ : {{val.member.level}}
{{val.member.post|number}}
ระดับ : {{v.member.level}}
{{v.member.post|number}}
ระดับ :
ดูความเห็นย่อย ({{val.reply}})

ข่าวใหม่วันนี้

ดูทั้งหมด