:::     :::

ผลกระทบ 'เบร็กซิท' ต่อ 'พรีเมียร์ลีก'

วันอาทิตย์ที่ 09 กันยายน 2561 คอลัมน์ ฟุตบอลข้างถนน โดย โกสุ่ย
7,156
ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
เราจะเห็นองค์กรใหญ่ของโลกฟุตบอลพยายามแยกตัวเองออกจากการเมือง แต่บ่อยครั้งที่มันหลีกเลี่ยงไม่ได้

ในอดีตที่ผ่านมามีหลายกรณีที่ 'การเมือง' เข้ามาพัวพันกับฟุตบอลจนเกิดปัญหาบานปลาย แม้ว่าท้ายที่สุดจะสามารถหาทางสะสางปัญหาได้ก็ตาม แต่นั่นก็เป็นตัวชี้วัดได้อย่างดีว่าทั้งสองอย่างยากที่จะแยกจากกัน

ไม่ต่างไปจากกรณีที่สหราชอาณาจักรจะทำการแยกตัวโดยตอนนี้ยังคงอยู่ในขั้นตอนการเจรจา แต่คาดว่าคงไม่เกินปี 2019 ที่มติต่างๆจะแล้วเสร็จ

หากทุกอย่างผ่านพ้นสำเร็จตามมติที่ทางรัฐบาลได้ทำไว้กับ 'อียู' ไม่เพียงจะส่งผลด้านเศรษฐกิจแต่ยังรวมไปถึง 'ฟุตบอล' 

เดลี่ เมล์ สื่อดังของอังกฤษได้รายงานถึงผลกระทบโดยตรงที่บรรดาทีมในพรีเมียร์ลีก จะได้รับหาก 'เบร็กซิท' ผ่านมติ นั่นคือจำนวนนักเตะท้องถิ่นที่จะต้องมีมากขึ้นในทีม

แม้จะยังไม่ได้รับการยืนยัน แต่ทาง เดลี่ เมล์ ได้อ้างแหล่งข่าวจาก สมาคมฟุตบอลอังกฤษ หรือ เอฟเอ และทาง พรีเมียร์ลีก ว่าตอนนี้ได้มีการถกเรื่องการเพิ่มจำนวนนักเตะท้องถิ่นของแตะละทีม

ปัจจุบัน แต่ละสโมสรในลีกสูงสุดแดนผู้ดีต้องส่งชื่อให้ พรีเมียร์ลีก 25 ราย โดยในนั้นต้องมีนักเตะ 'ท้องถิ่น' 8 รายในลิสต์รายชื่อถึงรวมไปถึงนักเตะต่างชาติที่มาฝึกซ้อมกับทีมเป็นเวลา 3 ปี ตั้งแต่อายุ 16-21 ปี

แต่ ... ถ้า 'เบร็กซิท' ผ่านมติขึ้นมา สื่อเจ้าดังกล่าวระบุว่าอาจจะมีการตีความเรื่อง 'นักเตะท้องถิ่น' กันใหม่ ซึ่งนักเตะที่ว่านั้นต้องมี 'พาสสปอร์ต' ของสหราชอาณาจักร และบางทีอาจจะเพิ่มจำนวนเป็น 10 (หรืออาจจะมากกว่านั้น) รายที่แต่ละสโมสรต้องส่งชื่อ


ในกรณีนี้ เดลี่ เมล์ ได้ทำทางเลือก 3 ทิศทางที่มีโอกาสเป็นไปได้ออกมานั่นคือ

1. นักเตะท้องถิ่น 10 ราย

2. นักเตะท้องถิ่น 12 ราย

และ 3 นับตามนาทีที่ลงเล่นในฤดูกาล 2018-19

หากเป็นไปตามที่ เดลี่ เมล์ กล่าวอ้าง ทีมที่จะได้รับผลกระทบในทันทีคือ เชลซี, อาร์เซน่อล และ แมนเชสเตอร์ ซิตี้ เพราะแต่ละทีมที่ว่ามาต้องเร่งหานักเตะท้องถิ่นและเพิ่มจำนวนให้ทันท่วงทีกับฤดูกาลใหม่

ไม่ต่างไปจาก แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด, ท็อตแน่ม ฮ็ฮตสเปอร์ หรือ ลิเวอร์พูล แต่สามทีมข้างต้นนั้นสถานการณ์แย่กว่าเพราะสัดส่วนนักเตะท้องถิ่นในทีมมีเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น (จากกฎใหม่)

จะมีเพียง 5 สโมสร เท่านั้นที่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด (ใหม่) นั่นคือ เบิร์นลี่ย์, บอร์นมัธ, คาร์ดิฟฟ์, เซาธ์แฮมป์ตัน และ เอฟเวอร์ตัน



เรื่องดังกล่าวถือเป็นที่ถกเถียงกันมาอย่างยาวนาน ถึงสัดส่วนนักเตะอังกฤษแท้ๆกับนักเตะต่างชาติในพรีเมียร์ลีกที่นับวันตัวเลขจะเพิ่มมากขึ้นในทิศทางที่กลับกัน

ย้อนกลับไปในฤดูกาล 1992-93 นักเตะอังกฤษมีจำนวนถึง 72 เปอร์เซ็นต์ ในลีก แต่ปัจจุบันลดจำนวนเหลือเพียง 31 เปอร์เซ็ต์ เท่านั้น นั่นคือจำนวนที่พอเข้าใจได้ เพราะแต่ละทีมต้องการที่จะพัฒนาศักยภาพ และเส้นทางที่รวดเร็วที่สุดคือการหานักเตะต่างชาติฝีเท้าดีเข้ามาสู่ทีม

นี่คือเรื่องราวที่ถกเถียงกันมาอย่างยาวซึ่งทาง เอฟเอ และ พรีเมียร์ลีก ก็ไม่นิ่งนอนใจ ได้ทำการหารือและวางแผนรวมไปถึงทางออกมากมายเพื่อรับมือกับ 'เบร็กซิท'

แม้จะเป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในอีกซีกโลก แต่ก็เป็นปัญหาที่น่าสนใจเพราะมันส่งผลกระทบโดยตรงต่อ พรีเมียร์ลีก ลีกฟุตบอลที่แฟนบอลบ้านเราติดตามกันมากที่สุด 

นอกจากนี้ก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจหากกฎที่ว่ามาได้รับการเห็นชอบ แต่ละทีมจะมีท่าทีเช่นไร และบรรดาทีมใหญ่จะหาวิธีรับมือกับเรื่องนี้อย่างไรกันบ้าง

น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง


คอลัมน์กีฬาบทความกีฬาต่างๆโดยนักวิเคราะห์ GURUชั้นนำของไทย มีให้ท่านได้เสพทุกวันที่เว็บไซต์ TH SPORT

ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
ระดับ : {{val.member.level}}
{{val.member.post|number}}
ระดับ : {{v.member.level}}
{{v.member.post|number}}
ระดับ :
ดูความเห็นย่อย ({{val.reply}})

ข่าวใหม่วันนี้

ดูทั้งหมด