เอเย่นต์ หรือ ปลิงดูดเลือด?
1 ในนั้นต้องมีชื่อของ มิโน่ ไรโอล่า ซูเปอร์เอเย่นต์แห่งวงการที่ทำเงินจากการเป็นคนกลางในการย้ายทีมของนักเตะ รวมไปถึงการประสานงานกับสโมสรในการต่อสัญญา
ยกตัวอย่างง่ายๆในปี 2016 ตอนที่ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด พยายามดึง ปอล ป็อกบา กลับถิ่น โอลด์ แทรฟฟอร์ด ก็ได้ เอเย่นต์คนดังกล่าวประสานงานทั้ง 3 ฝ่ายจนทำให้ 'ดีล' ดังกล่าวลุล่วงไปด้วยดี
ที่ว่า 3 ฝ่าย นั่นคือการที่ ไรโอล่า กลายสภาพเป็นตัวแทนของทั้ง ป็อกบา, ยูไนเต้ด และ ยูเวนตุส ซึ่งว่ากันว่า เอเย่นต์เชื้อสายอิตาเลี่ยน-ดัตช์ ฟาดเงินไปกว่า 41 ล้านปอนด์ ในคราวนั้น
ถือเป็นตัวเลขที่น่าตกใจอย่างมากและเป็นค่าตอบแทนที่มหาศาลกับการย้ายทีมเพียงหนเดียว ซึ่ง ไรโอล่า ได้เงินจากทั้งตัวนักเตะ รวมไปถึง 2 สโมสรคู่ค้า
หรือจะในกรณีของ จอร์จ เมสเดส ที่พา คริสเตียโน่ โรนัลโด้ ย้ายสโมสรไปยัง ยูเวนตุส ก็ฟาดกำไรจากการย้ายทีมดังกล่าวชนิดที่อยู่สบายไปเป็นชาติ
เรื่องดังกล่าวจึงเป็นที่มาของ 'เดอะ ไทม์ส' สื่อคุณภาพคับแก้วของอังกฤษได้ส่งนักข่าวไปสืบเสาะหาข้อมูลเชิงลึกของการมีส่วนร่วมของบรรดา 'เอเย่นต์' ที่จะได้รับเงินจากการย้ายทีมของนักเตะ
ข้อมูลของ 'เดอะ ไทม์ส' ระบุว่า บรรดาเอเย่นต์ยุคปัจจุบันจะได้ส่วนแบ่งทั้งจากนักเตะในความดูและและจากสโมสรซึ่งเป็นการรับเงิน 2 ทาง ทำให้อาชีพ 'เอเย่นต์' เป็นอาชีพที่ทำกำไรได้สูงและผลตอบแทนที่ล้ำค่า
มีการเปิดเผยว่า 79 เปอร์เซ็นต์ จากการย้ายทีม 541 กรณีที่เกิดขึ้นใน พรีเมียร์ลีก อังกฤษ เมื่อฤดูกาลที่ผ่านมา หรือคิดเป็น 4 จาก 5 การย้ายทีม (หรือต่อสัญญา) คือสัดส่วนที่ 'เอเย่นต์' จะได้รับเงินทั้งสองทางจาก นักเตะ และ สโมสร
หรือถ้าคิดเป็นจำนวนเงินก็จะมากถึง 211 ล้านปอนด์ (ประมาณ 9.4 พันล้านบาท) เลยทีเดียว !!!
จากกรณีดังกล่าวทำให้ บรรดาสโมสรในพรีเมียร์ลีก และ ประธานลีก ได้ทำข้อตกลงเบื้องต้นในการ 'แบน' การจ่ายเงินดังกล่าว ซึ่งการประชุมก็เกิดขึ้นไปเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา (13 ก.ย. ติดตามข่าวล่าสุดได้ทาง THSPORT)
อันที่จริงการจะเข้ามาทำงานด้าน 'เอเย่นต์' ในลีกผู้ดีก็ใช่ว่าจะง่ายๆ เพราะลีกและกฎหมายสรรพากรและศุลากรของที่นั่นค่อนข้างเข้มงวด และมีกฎระเบียบมากมาย
1. คุณต้องผ่านการทดสอบจากทาง เอฟเอ และ ลีก
2. ต้องมีบัญชีที่เปิดในธนาคารของสหราชอาณาจักร
3. ได้รับการยืนยันเรื่องการเงินจากทาง เอฟเอ
และ 4. ผ่านการรับรองจากทางลีก ซึ่ง เอเย่นต์ คนนั้นๆต้องมีการดำเนินการผ่านนนักเตะมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง
สิ่งเหล่านี้แหละที่ได้เข้าไปในการประชุมของสโมสรในพรีเมียร์ลีก และประธานลีก เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา แต่สิ่งที่ผู้เกี่ยวข้องสนใจมากกว่าคือการที่พวกเขาไม่ต้องเสียงินอีกทอดให้กับ 'เอเย่นต์' เหล่านั้นอีกต่อไป
มันจึงเกิดคำถามขึ้นว่า แล้วทำไมต้องหารือหรือออกกฎให้ยุ่งยาก ทำไม่ไม่ส่งเรื่องไปยัง ฟีฟ่า เลยล่ะ?
อันนี้ก็ทำได้ดีแต่สื่ออย่าง 'เดอะ ไทม์ส' ให้เหตุผลว่า ฟีฟ่า เลือกที่จะหักค่าใช้จ่าย 5 เปอร์เซ็นต์จากบรรดา เอเย่นต์ มากกว่าที่จะทำการแบนหรือยกเลิกบัญชีเหล่านั้น เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกวันนี้ตลาดนักเตะได้ดีดตัวขึ้นมาอย่างก้าวกระโดด และมูลค่าของนักเตะก็พุ่งสูงขึ้นนับตั้งแต่การย้ายทีมของ เนย์มาร์
นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ ฟีฟ่า เลือกที่จะไม่แบน แต่หันไปเก็บค่าธรรมเนียมแทนเพื่อนำเงินมาพัฒนาในส่วนต่างๆ ซึ่งพวกเขามองว่าเป็นประโยชน์มากกว่าที่จะไปไล่บี้ เอเย่นต์ เหล่านั้น
การแข่งขันที่สูงขึ้น, ลิทสิทธิ์ด้านการถ่ายทอดสด และผลตอบแทนในการลงสนามในศึก ยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ และอีกหลายปัจจัย ทำให้ 'มูลค่า' ด้านฟุตบอลสูงตาม และนั่นส่งผลไปยัง ค่าตัว, ค่าเหนื่อย และค่าจ้าง (ของเอเย่นต์) ที่สูงขึ้น
ทิศทางดังกล่าวจะเป็นดำเนินไปในทิศทางไหน เพราะปัจจุบันนักเตะเลือกที่จะใช้งาน 'เอเย่นต์' เป็นตัวแทนเจรจา ซึ่งสโมสรก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ มีแต่ที่จะเจรจาผ่านตัวแทนแม้ว่าจะไม่ต้องการก็ตาม
นี่คือสิ่งที่จะกำหนดตลาดซื้อขายในอนาคต เพราะแน่นอนว่าไม่เพียงแค่ สโมสร หรือ นักเตะ ที่มีส่วน แต่ 'เอเย่นต์' จะเป็นกุญแจสำคัญอีกหนึ่งอย่างที่ขาดไม่ได้
มีบางคนกล่าว 'เอเย่นต์' ในวงการฟุตบอลไม่ต่างจาก 'ปลิง' ที่คอยสูบเลือดและผลประโยชน์จากนักเตะและสโมสร กระนั้นคนที่ถูกสูบก็ (อาจจะ) พึงพอใจเพราะแลกมาด้วยความรวดเร็วในการย้ายทีม
สโมสรที่เบี้ยเยอะหรือเงินทุนหนาคงไม่มีผลเท่าไหร่ แต่มันจะส่งผลกระทบต่อสโมสรเล็กๆที่ต้องการดึงนักเตะเก่งๆไปร่วมทีม
สิ่งนี้คงชัดเจนขึ้นหลังจากการหารือ และนั่นจะกำหนดทิศทางตลาดซื้อขายนักเตะหน้าร้อนในฤดูกาล 2019/20 ว่าจะดำเนินไปในทิศทางใด
......
การดำเนินการเรื่องนักเตะในฤดูกาลที่ผ่านมาของ พรีเมียร์ลีก - ในกรณีที่เอเย่นต์เป็นตัวแทน 2 ฝ่าย (ข้อมูลจาก เดอะ ไทม์ส)
สโมสร จำนวนที่เอเย่นต์เป็นตัวแทนทั้ง 2 ฝ่าย
อาร์เซน่อล 21 จาก 22
บอร์นมัธ 17 จาก 20
ไบรท์ตัน 24 จาก 35
เบิร์นลี่ย์ 17 จาก 20
เชลซี 41 จาก 51
คริสตัล พาเลซ 11 จาก 15
เอฟเวอร์ตัน 29 จาก 36
ฮัดเดอร์สฟิลด์ 22 จาก 25
เลสเตอร์ 21 จาก 27
ลิเวอร์พูล 17 จาก 19
แมนฯซิตี้ 52 จาก 52
แมนฯ ยูไนเต็ด 29 จาก 33
นิวคาสเซิ่ล 12 จาก 21
เซาธ์แฮมป์ตัน 14 จาก 19
สโต๊ค 33 จาก 34
สวอนซี 12 จาก 16
สเปอร์ส 14 จาก 21
วัตฟอร์ด 14 จาก 29
เวสต์บรอมวิช 17 จาก 17
* ไม่มีข้อมูลของ เวสต์แฮม
จำนวนเงินที่เอเย่นต์ได้รับเมื่อฤดูกาลที่ผ่านมา - แบ่งตามจำนวนของแต่ละสโมสรใน พรีเมียร์ลีก
สโมสร จำนวนเงิน (ปอนด์)
ลิเวอร์พูล 26,793,503
เชลซี 25,143,786
แมนฯ ซิตี้ 23,475,309
แมนฯ ยูไนเต็ด 18,002,193
วัตฟอร์ด 13,390,605
เอฟเวอร์ตัน 12,056,512
อาร์เซน่อล 10,560,689
เลสเตอร์ 9,918,530
เวสต์แฮม 8,387,694
บอร์นมัธ 7,733,988
นิวคาสเซิ่ล 7,409,760
สวอนซี 7,317,716
สเปอร์ส 7,173,667
เซาธ์แฮมป์ตัน 6,296,804
สโต๊ค 6,241,527
คริสตัล พาเลซ 6,173,622
เวสต์บรอมวอช 4,754,226
ไบรท์ตัน 4,415,325
เบิร์นลี่ย์ 3,229,917
ฮัดเดอร์สฟิลด์ 2,465,815
คอลัมน์กีฬาบทความกีฬาต่างๆโดยนักวิเคราะห์ GURUชั้นนำของไทย มีให้ท่านได้เสพทุกวันที่เว็บไซต์ TH SPORT