คลับ 7
สถิติดังกล่าวถือเป็นอันดับ 2 ร่วมกับ โอลิมปิก มาร์กเซย อริไม่เผาผี และตามหลัง แซงต์-เอเตียน อดีตมหาอำนาจลูกหนังแดนน้ำหอมเพียงสมัยเดียว
สิ่งที่จะพูดถึงในครั้งนี้คือสถิติอันยอดเยี่ยมของ ติอาโก้ ซิลวา และ มาร์โก แวร์รัตติ สองสตาร์ดัง เปแอสเช ที่ตอนนี้พวกเขาคว้าแชมป์ลีกสูงสุดฝรั่งเศสไปแล้วคนละ 7 สมัย
นั่นคือสถิติที่ยอดเยี่ยมและน่าเหลือกับคนๆ หนึ่งที่จะสามารถคว้าแชมป์ลีกใหญ่ของยุโรปได้ถึง 7 สมัย กระนั้นพวกเขาไม่ใช่กลุ่มแรกที่ทำสถิติดังกล่าวได้
ตลอดช่วงเวลาหลาย 10 ปีที่ผ่านมา มีนักเตะรุ่นพี่ 5 คนที่ก้าวไปถึงสวรรค์ชั้น 7 กับการนอนกอดแชมป์ลีก เอิง ได้ถึง 7 สมัย
จะมีใครกันบ้างมาติดตามได้ที่นี่ ...
ฌอง-มิเชล ลาร์เก้
แชมปป์ลีก เอิง กับ แซงต์-เอเตียน: 1967, 1968, 1969, 1970, 1974, 1975, 1976
กองกลางระดับตำนานของ เลส์ แวร์ ที่ลงประเดิมสนามให้กับสโมสรเมื่อเดือนมีนาคมปี 1966 หลังจาก โรแบร์ แอร์กแบ็ง บาดเจ็บหัวเข่าอย่างรุนแรง
จากเด็กหนุ่มที่ได้โอกาสครั้งสำคัญ เขากลายมาเป็นหนึ่งในขุนพลยุครุ่งเรื่องของสโมสรหลังจากฟาดแชมป์ลีกตั้งแต่ปี 1967-70 แม้จะเว้นว่างไป 3 ปี แต่ เลส์ แวร์ กลับมาผงาดอีกครั้งด้วยการฟาดแชมป์ 3 สมัยรวด (1974-76)
แน่นอนว่า ลาร์เก้ คือหนึ่งในขุนพลหลัก แต่ช่วง 3 สมัยหลังสุดเขาได้นกระดับตนเองให้กลายมาเป็นกัปตันทีมของสโมสร และมีส่วนสำคัญให้ทีมประกาศศักดาในฝรั่งเศส
แอร์กเว่ เรอเวลลี่
แชมปป์ลีก เอิง กับ แซงต์-เอเตียน: 1967, 1968, 1969, 1970, 1974, 1975, 1976
อีกหนึ่งตำนานของ แซงต์-เอเตียน ในยุครุ่งเรื่อง และเขาเป็นอีกหนึ่งคนที่สามารถคว้าแชมป์ ลีก เอิง มาครองได้ 7 สมัย
อดีตกองหน้าชาวฝรั่งรายนี้ยังสร้างสถิติส่วนตัวด้วยการคว้าตำแหน่งดาวซัลโวของลีกได้ถึง 2 สมัย (31 ประตูในซีซั่น 1966/67 และ 28/ ประตูในฤดูกาล 1969/70)
เริ่มต้นประเดิมสนนามให้ เลส์ แวร์ ในปี 1966 (ในวัย 20 ปี) แม้จะสูงแค่ 175 เซนติเมตร แต่ผลงานการทำประตูกลับยอดเยี่ยมและกลายขมาเป็นแกนหลักของสโมสรในที่สุด
แม้จะมีช่วงเวลาที่แยกตัวไปเล่นกับ นีซ (เมื่อปี 1971) แต่เขาก็กลับมาที่ สต๊าด เชฟรัว กีชาร์ ในปี 1973 ก่อนที่จะคว้าแชมป์กับ เลส์ แวร์ ได้ถึง 3 สมัยซ้อน (1974-76)
เกรกอรี่ กูเปต์
แชมป์ ลีก เอิง กับ โอลิมปิก ลียง: 2002, 2003, 2004, 2005, 2006, 2007, 2008
หนึ่งในนักเตะที่ย้ายโดยตรงจาก แซงต์-เอเตียน ไปยัง โอลิมปิก ลียง (สองอริที่ไม่เผาผี) ในปี 1997
กูเปต์ สร้างผลงานที่ยอดเยี่ยมและเป็นหนึ่งในกุญแจสำคัญในความสำเร็จของสโมสร โดนเขายังถูกเลือกให้คว้ารางวัลผู้รักษาประตูยอดเยี่ยมในปี 2003-2006
จูนินโญ่ แปร์นันบูกาโน่
แชมป์ ลีก เอิง กับ โอลิมปิก ลียง: 2002, 2003, 2004, 2005, 2006, 2007, 2008
ไม่ต้องบรรยายสรรพคุณเพราะสำหรับ จูนินโญ่ แปร์นัมบูกาโน่ คือหนึ่งในนักเตะที่ยอดเยี่ยมที่สุดเท่าที่ โอแอล เคยมีในสโมสร
ผลงานที่คงเส้นคงวาแถมยังมีฟรีคิกปลิดวิญญาณ ทำให้กองกลางรายนี้สามารถยืนระยะและเป็นแกนหลักของสโมสรได้ตลอดช่วงเวลาที่สวมชุดของ โอลิมปิก ลียง
จูนินโญ่ ฝากสถิติ 75 ประตูจาการลงสนามในลีกไป 248 เกม พร้อมกับการคว้าแชมป์ 7 สมัย ซึ่งยังคงอยู่ในความทรงจำของแฟนบอลมาจนถึงทุกวันนี้
ซิดเนย์ โกวู
แชมป์ ลีก เอิง กับ โอลิมปิก ลียง: 2002, 2003, 2004, 2005, 2006, 2007, 2008
ก้าวมาจากดาวรุ่งของสโมสรก่อนจะเซ็นสัญญาอาชีพในปี 2000 และระเบิดผลงานในซีซั่นแรกด้วยผลงาน 10 ประตู
พลังงาน พละกำลัง และความดุดันในการเล่นเกมรุกทำให้ โกวู กลายมาเป็นแกนหลักในแนวหน้าของ โอแอล โดยเขาสร้างผลงานที่ยอดเยี่ยม 49 ประตูจาก 292 เกม
แม้จะไม่ได้ถูกกล่าวถึงในวางกว้างมากนัก แต่สำหรับสาวก โอแอล นี่คือหนึ่งในนักเตะที่น่าตื่นตาและทำให้ตื่นเต้นเวลาลงสนาม
นอกจากนั้นเขายังเป็นส่วนสำคัญในการพาทีมคว้าแชมป์ลีก เอิง 7 สมัย รวมไปถึงการคว้ารางวัลนักเตะดาวรุ่งยอดเยี่ยมมาครองในปี 2001
คอลัมน์กีฬาบทความกีฬาต่างๆโดยนักวิเคราะห์ GURUชั้นนำของไทย มีให้ท่านได้เสพทุกวันที่เว็บไซต์ TH SPORT