:::     :::

เวิลด์คัพฉบับกาตาร์ที่นับ1แล้ว

ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
เวิลด์ คัพ 2022 หน้าเสื่อจัดคือประเทศ กาตาร์ ไม่เปลี่ยนแปลงแม้จะมีกระแสต้านสารพัด ทั้งเรื่องช่วงเวลาแข่งขันที่อาจขยับจากเดิมราว มิ.ย.ถึง ก.ค.เป็นปลายปี หรือประเด็นใต้โต๊ะบิดจัด แต่เมื่อเลือกแล้วก็เปลี่ยนยาก เพราะเจ้าภาพเขาลงเสาเข็มเรียบร้อย

การเผยแพร่ล่าสุดชาติในคาบสมุทรเปอร์เซีย ได้เริ่มก่อสร้างสนามใหม่ทั้ง 8 แห่งไปแล้ว คาดว่าแล้วเสร็จก่อนเตะนัดเปิดสนาม 21 พ.ย.2022 อย่างแน่นอน ส่วนรอบชิงชนะเลิศนับไปจากนั้นอีก 28 วัน เป็น 18 ธ.ค. 

ด้านสารณูปโภคสังเวียนแข่งทั้งหมดอยู่ในรัศมี 55 กิโลเมตร ( 34 ไมล์) มีการเชื่อมต่อระบบขนส่งมวลชนแบบรางระหมด เท่ากับว่าการชม 2 แมตช์ในหนึ่งวันเป็นไปได้แบบสบายๆ 


ฝรั่งเศสแชมป์โลก 2018 ฉลองสุดเหวี่ยง


ความห่างสนามเหนือสุดไปใต้สุดแค่ 55 กิโลเมตร


ระบบขนส่งชวลชนส่งถึงหน้าสนาม

นั่นคือความน่าจะเป็นคร่าวๆ จากนี้ไปดูภาพรวมแต่ละสนามว่าแล้วเสร็จไปกี่แห่ง อย่างไรบ้าง เผื่อว่าต้องไปเชียร์ เทรนท์ อเล็กซานเดอร์-อาร์โนลด์ เด็กในสังกัดเรา

...............................

อัล วาเกราะห์ สเตเดี้ยม 

ความจุ: 40,000 ที่นั่ง/ห่างจากกลางกรุงโดฮา: 14 ไมล์/ แรงบันดาลใจการออกแบบโดย: แดม ซาฮา ฮาดิด 

การออกแบบของ อัล วาเกราะห์ สเตเดี้ยม ได้แรงบันดาลใจมาจากใบเรือพายดั้งเดิมแห่งชาวกาตาร์ ใช้งานตามชายฝั่งเพื่อออกหาอาหารเลี้ยงชีพ รวมถึงออกไปค้าขาย 

เอกลักษณ์จากเรือลำนั้นถูกนำแปลงมาออกแบบหลังคาสนาม และนวัตกรรมถ่ายเทความเย็นทำให้อากาศถ่ายเท สามารถแข่งขันได้ทั้งปีแม้ในหน้าร้อนสุดโทษแห่งทะเลทราย 

ความคืบหน้าทางโครงสร้างเสร็จแล้ว เช่นเดียวกับระบบไฟฟ้า ลำดับต่อไปคือติดตั้งหลังคารวมถึงรายละเอียดต่างๆ  

......................................

อัล บายัต สเตเดี้ยม - อัล กอร์ ซิตี้ สเตเดี้ยม 

ความจุ: 60,000 ที่นั่ง/ ห่างจากกลางกรุงโดฮา: 27 ไมล์/ออกแบบโดย: ดาร์ อัล-ฮันดาซาห์

สนามที่จุผู้ชมได้มากสุดลำดับต้นในการแข่งขันหนนี้ โดย อัล บายัต สเตเดี้ยม จะใช้ฟาดเกือกตั้งแต่รอบแบ่งกลุ่มจนถึง รอบรองชนะเลิศ 

การออกแบบละม้ายกับเตนท์สไตล์อาหรับ ซึ่งเรียกหาว่า 'บายัต อับ ชาอาร์' 

อุณหภูมิซึ่งยังสูงราว 30 องศา เซลเซียส ของประเทศกาตาร์ช่วงเดือนพฤศจิกายน ก็เป็นอีกเหตุผลที่ต้องทำหลังคาสนามถ่ายเทความร้อน รวมถึงเก็บความเย็น 

เช่นกันโครงสร้างสนามเสร็จแล้ว เหลือเพียงประกอบชิ้นส่วนของหลังคาเท่านั้น ทุกอย่างเป็นไปตามกำหนด ส่วนตัวสนามก็อยู่ระหว่างปรับภูมิทัศน์ 

................................................................

อัล เรย์ยาน สเตเดี้ยม  

ความจุ: 40,000 ที่นั่ง/ห่างจากกลางกรุงโดฮา: 14 ไมล์/ ออกแบบโดย : แรมโบลล์

สนามแห่งนี้จะใช้แข่งตั้งแต่รอบแรก จนถึงก่อนรองชนะเลิศ ทั้งนี้มันถูกขนานนามว่าออกแบบโดยรวบรวมวัฒนธรรมของชาวกาตารี ได้อย่างลงตัว 

บริเวณด้านหน้าสนามตกแต่งอย่างประณีตเพื่อแสดงให้เห็นความรุ่มรวยอารยธรรมของ กาตาร์ ตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์จนกลายเป็นชาติผู้มั่นคั่งจากการค้า 

อนึ่งแม้ตัวสนามจะสร้างอยู่กลางทะเลทราย แต่ก็มีกิจกรรมให้ทำครบถ้วน ทั้งร้านขายสินค้าที่ระลึก, ฟู้ด ฮอลล์ และจุดสันทนาการ ทั้งหมดออกแบบให้คล้ายเนินทราย 

ความคืบหน้าด้านโครงสร้างแล้วเสร็จเกิน 90% ลำดับต่อไปคือประดับหลังคาด้วยแก้วสะท้อนแสงน้ำหนักเบา ต่อด้วยทดสอบระบบไฟ

.....................................................

เอดูเคชั่น ซิตี้ สเตเดี้ยม  

ความจุ: 40,000 ที่นั่ง/ห่างจากกลางกรุงโดฮา: 7 ไมล์/ ออกแบบโดย : เอฟไอเอ เฟนวิค อิริบาร์เรน สถาปนิก  

เป็นสังเวียนแข้งที่อยู่ใกล้เมืองมากๆ ก่อสร้างบริเวณพื้นที่ขององค์กรเพื่อการศึกษาทางวิทยาศาสตร์และพัฒนาชุมชน แห่งกาตาร์ 

หน้าเสื่อรับจัดเกมตั้งแต่รอบแบ่งกลุ่มจนถึงรอบก่อนรองชนะเลิศ ซึ่งพอจบทัวร์นาเมนต์ สนามแห่งนี้จะกลายเป็นรังเหย้าของทีมฟุตบอลหญิง กาตาร์ 

รูปลักษณ์ภายนอกเป็นเหลี่ยมมุมคล้ายเพชรจนมีชื่อเล่นว่า 'เพชรแห่งทะเลทราย' ซึ่งจะสะท้อนแสงแดดตอนกลางวัน และต้องแสงไฟยามค่่ำคืน 

ณ  ตอนนี้นี้โครงสร้างภายนอกใกล้แล้วเสร็จ ลำดับต่อไปคือติดตั้งหลังคา  

......................................

อัล ตูมามา สเตเดี้ยม 

ความจุ: 40,000 ที่นั่ง / ห่างจากกลางกรุงโดฮา: 8 ไมล์/ออกแบบโดย : วิศวกรรมสถานอาหรับ บูโร 

อีกสนามแข่งที่มากเอกลักษณ์เพราะมีการนำแรงบันดาลใจจาก 'กาห์ฟิย่า' หรือ หมวกที่ชาวอาหรับชายสวมใส่ มาออกแบบ

สังเวียนแข้งแห่งนี้นับเป็นความภูมิใจของคนท้องถิ่นอย่างแท้จริงเพราะมี อิบราฮิม อัล เจดาห์ ชาวชาวกาตารี เป็นสถาปนิก  

ภาพรวมงานด้านโครงสร้างแล้วเสร็จกว่า 80% ลำดับต่อไปคือการเสริมอัฒจันทร์ชั้น 2 โดยหากเสร็จสิ้นภายในสนามจะติดตั้งเครื่องปรับอากาศ ซึ่งปรับได้ต่ำสุดถึง 18 องศา เซลเซียส ส่วนบริเวณด้านนอกก็มีสนามซ้อมให้ใช้งาน  

.........................................................

ราส อาบู อาบู้ด สเตเดี้ยม  

ความจุ: 40,000 ที่นั่ง/ห่างจากกลางกรุงโดฮา: 6 ไมล์/ ออกแบบโดย : เอฟไอเอ เฟนวิค อิริบาร์เรน สถาปนิก 

นี่จะเป็นสนามแข่งขันฟีฟ่า เวิลด์ คัพ แห่งแรกที่นำชิ้นส่วนตู้คอนเทนเนอร์ขนสินค้าจำนวน 998 ชิ้น มาร่วมก่อสร้างเป็นสเตเดี้ยม แล้วพอจบการแข่งก็สามารถถอดประกอบออกคืนสภาพภูมิทัศน์เดิม 

จุดสร้างสนามอยู่ชานกรุงโดฮา บริเวณอ่าวตะวันตก ติดกับท่าเรือ ยามค่ำคืนเห็นตึกรามของกรุงโดฮาระยิบระยับ 

เวลานี้พื้นที่ก่อสร้างถูกปรับเตรียมพร้อมคอยท่าตู้คอนเทนเนอร์ 998 ชิ้นที่จะถูกส่งมาถึงราวเดือนกุมภาพันธ์ 2019 โดยสนามแห่งนี้ใช้แข่งตั้งแต่รอบแบ่งกลุ่มถึงก่อนรองชนะเลิศ

................................................

ลูเซล สเตเดี้ยม 

ความจุ: 80,000 ที่นั่ง/ห่างจากกลางกรุงโดฮา: 10 ไมล์/ แรงบันดาลใจการออกแบบโดย: ฟอสเตอร์+พันธมิตร 

สังเวียนแข้งที่ถูกวางไว้ใช้แข่ง 2 เกมสำคัญอย่างนัดเปิดสนามและรอบชิงชนะเลิศ รวมถึงแมตช์สำคัญอื่นๆ 

สำหรับภาพจำลองของ ลูเซล สเตเดี้ยม ยังไม่ถูกโชว์ออกมา คาดว่าจะเผยแพร่ราวกลางเดือนธันวาคม 2018 

แม้ยังไม่เห็นรูปลักษณ์แต่งานโครงสร้างพื้นฐานดำเนินการไปแล้ว โดยมี 24 ชิ้นที่ถูกนำมาประกอบเข้ากับคอนกรีตความแข็งแรงพิเศษ 

ว่ากันว่าสนามแห่งนี้จะมีความสูงสุดที่ 80 เมตร ให้สมกับนิยามว่า 'หรูหรา-ใหญ่โต' 

...........................................

สนามกีฬาแห่งชาติคาลิฟา 

ความจุ: 40,000 ที่นั่ง/ ห่างจากกลางกรุงโดฮา: 8 ไมล์

สังเวียนแข้งที่สร้างเสร็จแล้วเปิดใช้งานแข่ง เอมีร์ คัพ รอบชิงชนะเลิศเมื่อปีก่อนต่อหน้าสักขีพยาน40,000 ชีวิต

ที่นี่ยังรับหน้าเสื่อฐานะรังเหย้าของฟุตบอลทีมชาติ กาตาร์ เปิดใช้มาตั้งแต่ปี 1976 แต่ได้ปรับปรุงให้ทันสมัยรองรับฟีฟ่า เวิลด์ คัพ 

งานสำคัญก่อนนี้ใช้แข่ง เอเชี่ยน เกมส์, กัล์ฟ คัพ กำลังจะเป็นสนามแข่งฟุตบอล ชิงแชมป์แห่งชาติ เอเชีย ต้นปี 2019 ต่อเนื่องถึง กรีฑาชิงแชมป์โลก ในความดูแลของ ไอเอเอเอฟ  


คอลัมน์กีฬาบทความกีฬาต่างๆโดยนักวิเคราะห์ GURUชั้นนำของไทย มีให้ท่านได้เสพทุกวันที่เว็บไซต์ TH SPORT

ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
ระดับ : {{val.member.level}}
{{val.member.post|number}}
ระดับ : {{v.member.level}}
{{v.member.post|number}}
ระดับ :
ดูความเห็นย่อย ({{val.reply}})

ข่าวใหม่วันนี้

ดูทั้งหมด