สมาคมนิยมแข้งเอเชี่ยน
10.
อาลี
มาบคูต (
อัล-
จาซิร่า/
สหรัฐอาหรับ
เอมิเรตส์)
เอาแค่ที่ยังค้าแข้งปัจจุบัน มาบคูต คือผู้เล่นที่ทำประตูนามทีมชาติมากสุดลำดับ 4 ที่จำนวน 80 ลูก แล้วยังคงรับใช้ สหรัฐอาหรับ เอมิเรตส์
ด้วยวัย 31 ปี มันยังเหลือเวลาสะสมตัวเลขขึ้นไปอีกพอสมควร
ความสม่ำเสมอของพี่แกในระดับทวีปเอเชียประจักษ์มาตลอดทศวรรษที่ผ่านมาต่อให้ผลงานในฟีฟ่า เวิลด์ คัพ 2022 รอบคัดเลือกไม่แจ่มเท่าไหร่
ด้วยเหตุนี้จึงเข้ามาในลำดับสุดท้ายของทำเนียบ เบียด มินมิโนะ ไปแบบปลายจมูก
9. เอลดอร์ โชมูโรดอฟ ( โรม่า/ อุซเบกิสถาน)
ผู้เล่นสายเกมรุกจากเอเชียกลางมักโดนมองข้าม ทั้งที่นี่คือขุมกำลังสำคัญของอดีตสหภาพโซเวียต จนนักเตะต้องไปสร้างการยอมรับในต่างแดนโดยเฉพาะใน เซเรีย อา อิตาลี
แข้งวัย 26 ปีย้ายไปเป็นสมาชิกของเฮดโค้ช โชเซ่ มูรินโญ่ เมื่อส.ค.ที่แล้ว ด้วยสัญญายาวถึง 5 ปี หลังจากสร้างผลงานน่าประทับใจกับ เจนัว ตั้งแต่ซีซั่นแรกบนแผ่นดินมะกะโรนี
กองหน้าทรงพลังโดดเด่นเวลาเล่นนอกกรอบเขตโทษ แล้วประสบการณ์บนลีกระดับท็อปของโลกที่ ‘โชโม’ สะสมมาก็ช่วยทีมชาติอุซเบกิสถานได้มากทีเดียว
8. อัลโมซ อาลี ( อัล- ดูเฮล/ กาตาร์)
เป็นดาวยิงสูงสุดในทัวร์นาเมนต์ทีมชาติ 2 หน ก็คงไม่ต้องกังขาในความสามารถของกองหน้าซึ่งเกิดที่ประเทศซูดานอีก
เพราะเวทีเอเชี่ยน คัพ 2019 และ คอนคาเคฟ โกลด์ คัพ 2021 (อาจรวมถึงชิงแชมป์เอเชีย ยู-23 เมื่อปี 2018 อีกด้วย) พังตาข่ายระเบิดจริงๆ
เขายังสามารถทำประตูใน โกปา อเมริกา 2019 จนก้าวมาเป็นตัวความหวังแดนหน้าให้กาตาร์ ก็หวังว่าทัวร์นาเมนต์ทีมชาติลำดับที่ 4 ปลายปีนี้อย่าง ฟีฟ่า เวิลด์ คัพ ฐานะเจ้าภาพทาง อาลี จะได้แจ้งเกิดเต็มตัวแก่ประชาชี
-
ทาเคฮิโระ โทมิยาซุ ( อาร์เซน่อล/ ญี่ปุ่น)
สามารถเล่นได้ทุกตำแหน่งในแผงหลังจะทั้งระบบ 3 ปราการหลังตัวกลางหรือแผงรับ 4 คน - ฤดูกาลที่ผ่านมาแม้เผชิญปัญหาบาดเจ็บรบกวนเป็นระยะแต่ก็สอบผ่านอย่างไร้ข้อกังขากับยอดทีมแห่งกรุงลอนดอน
จุดเด่นที่เล่นด้วยความเยือกเย็น, สร้างความนิ่งแก่เกมรับทีม ซึ่งก็น่าเจ็บใจพลาดตั๋วชปล.โค้งสุดท้ายซีซั่น
หน่วยก้านโดดเด่น, มีหัวใจนักสู้ และครองบอลขึ้นเกมเองอย่างมั่นอกมั่นใจ ล้วนเป็นสิ่งที่คาดหวังจะเห็นจากแข้งวัย 23 ปีในฤดูกาลหน้าเมื่อร่างกายฟื้นสมบูรณ์
รวมถึงนามทีมชาติญี่ปุ่นซึ่งลงกลุ่มแห่งความตายของฟีฟ่า เวิลด์ คัพ 2022 ชนตออย่าง เยอรมัน, สเปน และ คอสตาริกา
6. วาตารุ เอ็นโดะ ( สตุ๊ตการ์ท/ ญี่ปุ่น)
คนส่วนใหญ่บอกว่า ซน ฮึง-มิน ถูกนับถือฝีเท้าต่ำเกินไป แต่หากเทียบกับกองกลางตัวรับชาวญี่ปุ่นอย่าง เอ็นโดะ นี่หากไม่ดูบอลลึกจริงยากจะรู้จัก
ทั้งที่ผลงานเด่นกับ สตุ๊ตการ์ท บนเวทีบุนเดสลีกา เยอรมัน ได้รับการยอมรับจากฝรั่งผมทองค่อนทีมให้เป็นรองกัปตัน
จนเวลานี้เหล่าทีมใหญ่ร่วมลีกเลิกมองข้ามหัวหรือแม้แต่สโมสรจากต่างแดนก็เช่นกัน
เอ็นโดะ เด่นทั้งตอนมีบอลกับตัวหรือวิ่งตีรถเปล่าหาที่ว่าง แล้วที่ทำให้ ‘ม้าขาว’ ได้แบบไหน นามทีมชาติญี่ปุ่นก็ดีแบบนั้น
5. อักราม อาฟิฟ ( อัล- ซาดด์/ กาตาร์)
ดีกรีผู้เล่นยอดเยี่ยมแห่งปี 2019 ของ เอเอฟซี รวมถึงติดทีมยอดเยี่ยมแห่งทัวร์นาเมนต์ คอนคาเคฟ โกลด์ คัพ ปีก่อน
อาฟิฟ เป็นคู่ขาของ อัลโมซ อาลี ในแนวรุก แต่จะถอนต่ำกว่าแล้วมักถ่างออกเล่นริมเส้นเพื่อล้วงบอลเองและสร้างสรรค์โอกาสป้อนพวกพ้อง
พิสูจน์จากสถิติ 10 แอสซิสต์ในเอเชี่ยน คัพ 2019 ถือว่าเกินธรรมดา แถมยังมีชื่อทำประตูอีกต่างหาก แม้ประสบการณ์เตะบอลในยุโรปจะน้อยนิดเฉกเช่นเวทีใหญ่นานาชาติ
แต่ปลายปีนี้เป็นโอกาสดีว่าจะแจ้งเกิดหรือแจ้งดับกับ ฟีฟ่า เวิลด์ คัพ 2022
4. ซัลมาน อัล- ดอว์ซารี่ ( อัล- ฮิลาล/ ซาอุดีอาระเบีย)
ด้วยฟอร์มที่กำลังเข้าฝักของ อัล-ดอว์ซารี่ สื่อฯหลายสำนักยกให้พี่แกเป็นผู้เล่นที่ดีสุดซึ่งยังเล่นในเอเชีย
ทั้งความโดดเด่นนามสโมสรที่คว้าตำแหน่งผู้เล่นทรงคุณค่า ทั้งนำ อัล-ฮิลาล ได้แชมป์เอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ ลีก สมัยที่ 4 เมื่อปี 2021
ส่วนนามเศรษฐีน้ำมันก็เป็นแข้งยอดเยี่ยมสำหรับฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย การันตีความเจ๋งแบบไม่เกี่ยงเครื่องแบบ
การเล่นกองหน้าริมเส้นที่ลากตัดมาพังตาข่ายตามสมัยนิยม ช่วยสร้างสกอร์แจ่มๆเพียบ
ขอแค่ปรับทัศนคติเล่นเพื่อทีมมากกว่าตัวเองอีกนิด, ขยันเล่นเกมรับอีกหน่อย ซัลมาน จะยิ่งน่าจับตา
3. ซาร์ดาร์ อัซมูน ( เลเวอร์คูเซ่น/ อิหร่าน)
เอาจริงออกมาค้าแข้งที่รัสเซียอยู่ก็หลายปี ไต่เต้าเป็นดาวเด่น เซนิต เซนต์.ปีเตอร์สเบิร์ก จนได้ย้ายไป เลเวอร์คูเซ่น เมื่อตลาดม.ค. 2022 ก่อนสงคราม รัสเซีย - ยูเครนแค่สองเดือน
ดาวเตะวัย 27 ปี ค่าเฉลี่ยผลงานทำประตู 1 ลูกทุก 1.5 นัดที่ลงสนามนามทีมชาติอิหร่าน แม้ยังอยู่ในระหว่างปรับตัวกับบุนเดสลีกา เยอรมัน แต่ด้วยเกรดฝีเท้าซีซั่นหน้าแจ้งเกิดได้แหง
ความฉกาจที่เป็นเครื่องหมายการค้าคือเมื่ออยู่พื้นที่อันตราย แล้วการได้เริ่มตั้งแต่ปรี-ซีซั่นกับ ‘ห้างขายยา’ คงช่วยได้มาก แล้วมันจะส่งผลดีต่อทีมชาติอิหร่านซึ่งเตะฟุตบอลโลก 2022 รอบแบ่งกลุ่มพบ อังกฤษ, สหรัฐฯ และ เวลส์
2. เมห์ดี้ ทาเรมี่ ( เอฟซี ปอร์โต้/ อิหร่าน)
สมัยที่เขาไปร่วมงาน เปอร์เซโปลิส มหาอำนาจลีกอิหร่านเมื่อปี 2014 ก็สร้างชื่อฐานะกองหน้าคนขยัน แต่ดูทรงไม่น่าเป็นจอมถล่มตาข่ายแบบพิมพ์นิยมแห่งเอเชีย
จนออกไปเปิดประสบการณ์ต่างแดนกับ ริโอ อาฟ เมื่อปี 2019 ก็ซัดไปกว่า 18 ลูก จนเข้าตา เอฟซี ปอร์โต้ ขาใหญ่ ลีกา โปรตุกีส คว้าเข้าสังกัด จากนั้นมามีชื่อบนสกอร์บอรด์สม่ำเสมอ
ฟีฟ่า เวิลด์ คัพ 2022 ปลายปีนี้เป็นโอกาสดีในการช่วยมาตุภูมิและประชาสัมพันธ์ตัวเองแก่วงกว้างเผื่อได้ก้าวสู่เวทีใหญ่กว่านี้
1. ซน ฮึง- มิน ( ท็อตแน่ม ฮอตสเปอร์/ เกาหลีใต้)
ดาวเด่นจาก ท็อตแน่ม ฮอตสเปอร์ สร้างผลงานเอกอุชนิดที่ไม่เคยมีผู้เล่นเอเชียหน้าใดทำได้มาก่อน เมื่อเขาคว้าตำแหน่งดาวซัลโวในลีกที่ได้ชื่อว่าการแข่งขันดุเดือดสุดของโลกอย่างพรีเมียร์ลีก อังกฤษ ฤดูกาลล่าสุดแบบไม่มีจุดโทษแม้แต่เม็ดเดียว
ความโหดของ ซน ยังช่วย สเปอร์ส แรงปลายคว้าสิทธิเตะแชมเปี้ยนส์ ลีก ซีซั่น 2022-23 หลังจากห่างหายไป
ทางทีมชาติเกาหลีใต้ก็หวังให้ความร้อนแรงของสตาร์วัยย่าง 30 ปีต่อเนื่องถึงฟุตบอลโลก รอบสุดท้าย ปลายปีนี้เพราะตกในกลุ่มแข็งมีทั้ง อุรุกวัย, กานา หรือ โปรตุเกส
คอลัมน์กีฬาบทความกีฬาต่างๆโดยนักวิเคราะห์ GURUชั้นนำของไทย มีให้ท่านได้เสพทุกวันที่เว็บไซต์ TH SPORT