ถอดรหัสตลาดเสริมโหดลีกผู้ดี
เมื่อเส้นตายซัมเมอร์ 2022 ปิดตัวเวลา 23:00 น.(ท้องถิ่น) วันที่ 1 ก.ย. ตัวเลขสะสมที่ควักจากกระเป๋าสโมสรสมาชิกกว่า 2 พันล้านปอนด์ มากสุดเป็นประวัติการทุบเรคคอร์ดเดิมปี 2017 มูลค่า 1.45 พันล้านปอนด์ย่อยยับ
ที่มาที่ไปในการทุ่มตลาดกันแบบนี้มันมีสาเหตุ
เจ้าของทีมใหม่โชว์ป๋า
ก็เหมาะสมดีหากจะพูดว่า ท็อดด์ โบห์ลี่ มีอิทธิพลอย่างมากกับตลาดซื้อ-ขายแแรกของตัวเองกับ เชลซี
ด้วยเพราะสวมหมวก 2 ใบทั้งรักษาการผอ.กีฬา และเจ้าของสโมสร - ทางนักธุรกิจอเมริกันเลยทำตัวเหมือนเด็กน้อยหลงเข้าไปในร้านขายลูกกวาด - ตามนิยามที่ให้ไว้โดย แกรี่ เนวิลล์ นักวิเคราะห์ สกาย สปอร์ตส์
เมื่อ ‘สิงห์บลูส์’ เสริมทัพสูงสุดลีกที่ 258.5 ล้านปอนด์ แลกมา 8 หน้าใหม่
นิวคาสเซิ่ล ก็เป็นอีกทีมที่มีเจ้าของป้ายแดง แล้วกลุ่มทุนซาอุดีก็ต่อท่อน้ำเลี้ยงกว่า 122 ล้านปอนด์แลกมา 4 แข้ง รวมถึงกองหน้าสถิติค่าตัวแพงสุด อเล็กซานเดอร์ อิซัค ที่ 60 ล้านปอนด์
“เจ้าของสโมสรใหม่ของพรีเมียร์ลีก อังกฤษ จับจ่ายก้อนโตและเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญต่อกลไกตลาด” คีแรน แม็กไกวร์ อาจารย์จากมหาวิทยาลัยแห่งลิเวอร์พูล ผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจฟุตบอลหล่นความเห็น
“อีกเจ้าของทีมที่เพิ่งเข้ามาเป็นสมาชิกพรีเมียร์ลีก อังกฤษ ฤดูกาล 2022-23 ได้แก่ อีแวนเจลอส มารินาคิส เจ้าพ่อสื่อฯสัญชาติกรีก ผู้อยู่เบื้องหลังการขับเคลื่อน ฟอเรสต์ มากว่า 5 ปี
“แล้วนี่คือครั้งแรกที่กลับขึ้นมาเล่นลีกใหญ่ จึงจัดเต็ม 152.9 ล้านปอนด์ สำหรับแข้งใหม่ 22 คนเมื่อปิดตลาด”
สถิติซื้อ- ขายรวมที่ถูกทำลาย
มูลค่าการซื้อนักตะขาเข้า ขายยนักเตะออกของสโมสรสมาชิพพรีเมียร์ลีก อังกฤษ รวมกันช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาถึอว่าโดนผลกระทบจากโควิด-19
อย่างซีซั่น 2018-19 ตัวเลขที่ 5.2 พันล้านปอนด์ แต่ฤดูกาลต่อมาตกเหลือ 4.5 พันล้านปอนด์ นับเป็นหนแรกที่ประหยัดการใช้จ่ายกว่าปีก่อน
ส่วนนับแต่นั้นกราฟเงินสะพัดกลับมาเพิ่มขึ้นอีกครั้ง โดยประมาณการจากสถาบันการเงิน/การบัญชียักษ์ใหญ่อย่าง เดล็อตต์ เชื่อว่าตัวเลขของซีซั่น 2022-23 จะไปจบที่ 6 พันล้านปอนด์ มากกว่าก่อนมีการระบาดของโคโรน่าไวรัส
“หากคุณมองที่มูลค่ารวมการซื้อมา-ขายไปไล่ทีละสโมสร ทะลุกราฟเดิมไปในทางบวกมันส่งสัญญาณว่าพวกเขาก้าวข้ามวิกฤติโรคระบาดไปแล้ว” ทิม บริดจ์ นักวิเคราะห์จาก เดล็อตต์ สปอร์ตส์ บิสซิเนส กรุ๊ป เสนอมุมมองบ้าง
“แต่ละสโมสรไม่มีตัวเลขสำคัญอย่างหนี้สินพอกหางหมู หรือภาระใดๆในแบบที่สโมสรอื่นๆทั่วยุโรปเผชิญ”
ตัวเลขสถิติที่นำไปสู่การพยากรณ์ยังเชื่อว่าความกล้าลงทุนเกิดจากข่าวจะมีการตกลงมูลค่าลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดใหม่ทั้งในและต่างประเทศ ขุมทรัพย์รายได้ก้อนโต
รวมถึงความอัดอั้นของแฟนบอลที่จะจับจ่ายในทุกรูปแบบหลังการคลายล็อคมาตรการสุขภาพต่างๆ
“ค่าลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดใหม่ในสหรัฐฯและสแกนดิเนเวีย จะสร้างระดับสถิติใหม่” อาจารย์แม็กไกวร์ เสริม
“มันทำให้สโมสรมีความเชื่อมั่น พวกเขายังไม่เห็นหลักฐานว่าแฟนบอลจะยกเลิกจ่ายล่วงหน้าเพื่อซื้อตั๋วปี แม้ว่าค่าลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดในประเทศเริ่มส่งปัญาต่อค่าครองชีพ”
ตลาดของผู้ขาย
อีกธีมที่น่าสนใจของตลาดซัมเมอร์ 2022 คือเหล่าสโมสรระดับกลางตารางสามารถจับทีม ‘บิ๊ก 6’ เรียกค่าไถ่สำเร็จ
ไบรท์ตัน ปล่อยให้ แมนฯ ซิตี้ กับ เชลซี เปิดสงครามชิงตัว มาร์ก กูกูเรย่า จนตัวเลขขึ้นไปแตะราคาเปิดขายที่ 55 ล้านปอนด์ จึงค่อยอนุมัติปล่อยแบ็กซ้ายเนื้อหอมออก
เลสเตอร์ ก็ประวิงเวลาจนสามารถขูดรีด ‘สิงห์บลูส์’ไปได้อีกกว่า 69.5 ล้านปอนด์ สำหรับปราการหลัง เวสเล่ย์ โฟฟาน่า
“ผู้ขายในตลาดรอบนี้อยู่ในสถานะที่ดีมากๆ” ครูแม็กไกวร์กล่าวเพิ่ม
“ที่ผ่านมาสโมสรต่างๆล้วนบริหารงานเพื่อให้รอดพ้นวิกฤติโควิดไปได้แล้ว ดังนั้นไม่ต้องรีบโดดคว้าข้อเสนอแรกที่เข้ามาในทันที”
“ทีมที่รับบทผู้ขายสามารถรอจนดันมูลค่านักเตะคนนั้นๆถึงจุดสูงสุดค่อยปล่อย”
พิจารณาที่กระดานซื้อผู้เล่นประกอบ มูลค่ามันขยายตัวขึ้นในเมื่อ นิวคาสเซิ่ล, เวสต์แฮม หรือ วูล์ฟแฮมป์ตัน ก็ล้วนทุบสถิติเก่าของตัวเอง จ่ายค่าตัวนักเตะสามทีมรวมกันมีถึง 10 คน แพงเหยียบ 40 ล้านปอนด์ทั้งสิ้น
การแข่งขันเพื่อชิง 4 อันดับแรก
ต่อให้รายได้จากการไปเล่นแชมเปี้ยนส์ ลีก จะมากมายมหาศาลจนเป็นคำตอบทำไมต้องจ่ายซื้อตัวกันแพงๆ - เพราะการันตีขั้นต่ำราว 50 ล้านปอนด์
แต่ทีมในกลุ่ม ‘บิ๊ก 6’ ได้ไปเล่นแค่ 4 จาก 6 ทีม - ไหงพวกเขาต้องลงทุนล่วงหน้ากว่า 200 ล้านปอนด์?
ตัวอย่างเห็นจาก แมนฯ ยูไนเต็ด ของ เอริก เทน ฮาก เมื่อคว้าแนวรุก อันโตนี่ มูลค่า 85.5 ล้านปอนด์ แพงสุดลำดับสองประวัติศาสตร์ทีม นั่นเพราะกลไกตลาดปั่นให้ราคาเฟ้อ
หากคุณคิดอยากสู้เพื่อโควตาชปล.ก็ต้องกล้าลงทุนไปก่อน
ลักษณะการเอาเงินอนาคตมาลงทุนเกิดขึ้นกับอีกหลายทีมในตลาดซัมเมอร์ 2022 เช่น ลีดส์ ยูไนเต็ด ซึ่งรอดตกช้นในแมตช์เดย์สุดท้าย มาเที่ยวนี้เสริมกว่า 91.8 ล้านปอนด์
“สถานะบนลีกสูงสุดสำคัญมาก เพราะต่อให้ต้องสำรองจ่ายไปก่อนก็คุ้ม ในเมื่อตกชั้นต้องสูญรายได้ถึง 50-60 ล้านปอนด์” นักวิเคราะห์จาก ม.ลิเวอร์พูล หล่นความเห็น
มันจะหยุดการทุ่มตลาดได้ไหม?
พรีเมียร์ลีก อังกฤษ เริ่มพิจารณาเรื่องเพดานค่าใช้จ่ายสำหรับซื้อ-ขายและเพดานค่าจ้างเป็นหนแรก
ทาง ยูฟ่า ก็เปลี่ยนวิธีล้อมคอกจากกฎไฟแนนเชี่ยล แฟร์ เพลย์ มาเป็นจำกัดการจับจ่ายไม่เกิน 70% จากรายได้สุทธิของปีปฏิทินก่อน และลีกสูงสุดผู้ดีน่าจะนำระบบดังกล่าวมาปรับใช้
อย่างไรก็ตาม พรีเมียร์ลีก อังกฤษ คงตั้งจำนวนเปอร์เซนต์ที่สูงกว่าของ ยูฟ่า อีกทั้งค่าเฉลี่ยรายได้สุทธิของค่ายลูกหนังผู้ดีก็สูงกว่าสโมสรอื่นๆของยุโรป
ดังนั้นตลาดซัมเมอร์หน้าก็ไม่ต้องแปลกใจหากเห็นกาาทำลายสถิติอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งพรีเมียร์ลีก อังกฤษ จะได้โควตาเตะชปล. 5 ที่นั่งนับจากปี 2024
“ยูฟ่า เพิ่งเซ็นสัญญาลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดใหม่ และมั่นใจว่าสามารถหาเงินเพิ่มให้ทีมที่ลงเตะแชมเปี้ยนส์ ลีก ได้ เพราะพวกเขาต้องการขจัดเสี้ยนหนามศักยภาพที่จะเกิด ยูโรเปี้ยน ซูเปอร์ ลีก ซึ่งล้มลุกคลุกคลานขณะนี้” แม็กไกวร์ เสริมอีกในประเด็นท้ายๆ
“การขับเคี่ยวเพื่อชิงตั๋วไปเล่นฟุตบอลสโมสรยุโรปยิ่งถูกเร้าเพิ่มขึ้นกว่าที่เคยเป็นในฤดูกาล 2022-23”
“สโมสรคิดว่ายิ่งจ่ายมากก็เพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จ และสิ่งนั้นสำคัญกว่าครั้งใดๆที่แล้วมา”
คอลัมน์กีฬาบทความกีฬาต่างๆโดยนักวิเคราะห์ GURUชั้นนำของไทย มีให้ท่านได้เสพทุกวันที่เว็บไซต์ TH SPORT