:::     :::

หมอสันนิษฐานบายเซติชเดี้ยงอย่างแย่หนักแค่ไหน

ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
เว็บไซต์ ดิส อิส แอนฟิลด์ ชวนนายแพทย์ ราจพาล บราร์ ขาประจำที่วิเคราะห์อาการเจ็บของเหล่านักกีฬาทั้งหลายมานั่งตั้วสมมุติฐานถึงอาการเจ็บเที่ยวล่าของ สเตฟาน บายเซติช กองกลางหนุ่มว่าอย่างแย่สุดคืออะไร

บายเซติช โดนทีมสั่งปิดเทอมไปฟื้นฟูปัญหาเจ็บโคนขาหนีบ แบบไม่ได้ลงรายละเอียด 100% ว่าจุดไหนอย่างไร 

ซึ่งจากกรอบเวลาที่ด่วนส่งแข้งวัย 18 ปีพักทั้งที่เหลือเวลาแข่งอีก 2 เดือน ทางนายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญปัญหาบาดเจ็บนักกีฬากรอบคร่าวๆได้ 3 แบบ 

แน่นอนว่าความเสียหายต่างกันไป และกรอบเวลารักษาสั้น-ยาวไม่เท่ากัน 

แต่อย่างน้อยก็โล่งใจว่าปรี-ซีซั่น 2023 จะมีแข้งสแปนิชร่วมคณะด้วย 


บาดเจ็บกล้ามเนื้อโคนขาหนีบเหยียด

ทางเลือกที่หนึ่งของปัญหาบาดเจ็บคือกล้ามเนื้อโคนขาหนีบตึง จนถึงขั้นฉีกขาด ซึ่งการจะวิเคราะห์ความเสียหายได้ต้องสแกนคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (เอ็มอาร์ไอ) 

สำหรับกลุ่มกล้ามเนื้อโคนขาหนีบจะอยู่ด้านในโคนขาติดกับอวัยวะเพศ ไล่จากกระดูกเชิงกรานลงไปยังเข่า 

ดังนั้นปัญหาเจ็บโคนขาหนีบคือตำแหน่งที่พบได้บ่อยสำหรับนักฟุตบอล กรณี บายเซติช ก็สมเหตุสมผล 

อย่างไรก็ตามมันมีสิ่งที่ไม่สมเหตุสมผลกกรณีล้ามเนื้อโคนขาหนีบตึง จนถึงขั้นฉีกขาดจริงๆ

ประการแรกกรอบเวลาที่ทำให้ต้องพลาดแข่งตลอดช่วงที่เหลือของฤดูกาล 2022-23 เพราะนั่นหมายความว่าเกิดความเสียหายทั้งชิ้นกล้ามเนื้อ ซึ่งที่ผ่านไม่มีสัญญาณบ่งบอกว่าเขาจะเดี้ยงหนักแบบนั้น 

ทั้งนี้การแจ้งข่าวของสโมสรอาจหลีกเลี่ยงใช้คำฟุ่มเฟือยหรือภาษาทางการแพทย์เพื่ออธิบายถึงอาการบาดเจ็บดังกล่าว ซึ่งมันไปสู่ความเสียหายขั้นกว่า 

 

บาดเจ็บกระดูกโคนขาหนีบเหยียด 

ต้นเหตุของอาการบาดเจ็บกระดูกโคนขาหนีบเหยียดทางการแพทย์อธิบายว่าเพราะการฝืนใช้งานซ้ำๆ จากอาการเจ็บเล็กๆกลายเป็นเรื่องใหญ่ 

ที่ผ่านมาก็ไม่มีสิ่งเชื่อมโยงใดว่าที่ บายเซติช ลงตัวจริง 9 จาก 11 นัดก่อนนั้นจะมีปัญหาดังกล่าว - ทั้งนี้ก็เข้าใจว่าระดับการเล่นจากชุด ยู-21 ขึ้นมาชุดใหญ่ความเข้มข้นต่างกันหลายเท่า, เวลาลงแข่งที่มากนาที 

มันไม่สอดคล้องกับร่างกายที่กำลังปรับตัว บทสรุปจึงโดนอาการเดี้ยงเล่นงาน 

หนึ่งในประเภทของความอาการบาดเจ็บเช่นนี้เรียกว่ากล้ามเนื้อฉีกขาดที่อาจพบชิ้นส่วนกระดูกเล็กติดออกมาด้วย หรือต้นขาแหว่ง 

ซึ่งเมื่อส่วนเศษกระดูกที่หลุดออกมาถูกกดซ้ำในบริเวณกล้ามเนื้อโคนขาหนีบ ก็นำไปสู่อาการช้ำม่วงนั่นเอง 

ผลลัพธ์ที่ออกมาจะคล้ายกระดูกเชิงกรานทิ่มกล้ามเนื้อ ต่างเพียงตำแหน่งต่ำกว่า 

 


บาดเจ็บกล้ามเนื้อโคนขาหนีบเหยียดร่วมกับกระดูกโคนขาหนีบเหยียด

กระดูกเชิงกรานของนักกีฬายิ่งในนักฟุตบอล ต้องรองรับงานหนักสม่ำเสมอทั้งเรื่องพลิกบิดซ้ำ หรือต้องเปลี่ยนทิศทางอย่างรวดเร็ว 

ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการเจ็บโคนขาหนีบจนมีเศษกระดูกหลุดมาทิ่มกล้ามเนื้อหรือ กระดูกเชืงกรานทับใส่กล้ามเนื้อจนช้ำ เมื่อสะสมเข้าไปก็จะทำให้เกิดภาวะกระดูกเหยียด 

บางกรณีหากไม่ถูกจัดการอย่างเหมาะสมจะแย่ถึงขั้นหักร้าว 

เคสของ บายเซติช เป็นไปได้ว่าแย่ถึงขั้นนี้เขาจึงต้องพักทั้งฤดูกาล 


กระบวนการรักษาก็ต้องอาศัยเวลาเป็นเดือนๆเพื่อฟื้นฟูและดำเนินกระบวนการอย่างระมัดระวัง ยิ่งกับผู้เล่นซึ่งเพิ่งขึ้นชุดใหญ่แล้วถูกเร่งโปรแกรมซ้อมอย่างเข้มข้นแบบเจ้าหนุ่ม 

กรณีศึกษาก่อนนั้นคือกองกลาง เคอร์ติส โจนส์ ที่กระดูกหน้าแข้งเหยียด นำสู่ปัญหาบาดเจ็บนานกว่าปกติ 

จนบางครั้งเหมือนจะดีขึ้น บางทีเหมือนทรุดลง ต่อให้กระดูกคนละชิ้นแต่รูปแบบบาดเจ็บละม้ายกัน

จากข้อสันนิษฐานที่กล่าวมาทางทีมแพทย์รวมถึง เจอร์เก้น คล็อปป์ เองเห็นว่าไม่มีความจำเป็นต้องเร่งหนุ่ม 18 ปีให้รีบกลับมาแข่งท้ายซีซั่นเมื่อเหลือแค่ทำอันดับให้ติดที่ 4 เพื่อตั๋วชปล.


สเตฟาน สามารถฟื้นฟูแบบไม่มีความกดดันของกรอบเวลา รวมถึงปั้นความแข็งแกร่งร่างกายและจิตใจไปตลอดหน้าร้อน 

เพื่อว่ากลับมาซีซั่น 2023-24 จะหน่วยก้านดีกว่าเดิมพร้อมยืนระยะแข่งไปตลอดปี  

คอลัมน์กีฬาบทความกีฬาต่างๆโดยนักวิเคราะห์ GURUชั้นนำของไทย มีให้ท่านได้เสพทุกวันที่เว็บไซต์ TH SPORT

ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
ระดับ : {{val.member.level}}
{{val.member.post|number}}
ระดับ : {{v.member.level}}
{{v.member.post|number}}
ระดับ :
ดูความเห็นย่อย ({{val.reply}})