:::     :::

แถวนี้มันเถื่อนโค้ชไม่เจ๋งจริงอยู่ยาก

ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
ก่อนพรีเมียร์ลีก อังกฤษ ฤดูกาล 2022-23 เปิดฉากใครจะไปคิดว่า รอย ฮอดจ์สัน ที่ประกาศรีไทร์แล้วจะใจอ่อนกลับมาคุม คริสตัล พาเลซ อีกครั้ง? หรือใครจะเชื่อว่า อูไน เอเมรี่ ที่เสียเครดิตตอนคุม อาร์เซน่อล สามารถหวนคืนลีกผู้ดีแบบพา แอสตัน วิลล่า ลุ้นโควตายุโรป ลีกนี้มันเถื่อนไม่เจ๋งจริงอยู่ลำบาก

ซีซั่นนี้เกิดการเปลี่ยนแปลงผจก.ทีม/เฮดโค้ช มากสุดประวัติศสาสตร์ 13 ตำแหน่ง มีแค่ แกรม พ็อตเตอร์ ออกจาก ไบรท์ตัน ด้วยความเห็นพ้องทั้งสองฝ่าย ที่เหลือ 12 หนคือถูกปลด 

จำนวนดังกล่าวไม่การันตีว่าจะหยุดแค่นั้นเพราะ สตีฟ คูเปอร์ ที่ ฟอเรสต์ ก็ยังลูกผีลูกคน หรือ เดวิด มอยส์ ของ เวสต์แฮม มีข่าวเด้งเป็นระยะ 

5 ค่ายพรีเมียร์ลีก อังกฤษ เวลานี้ใช้รักษาการกุนซือได้แก่ เชลซี, สเปอร์ส, คริสตัล พาเลซ, เลสเตอร์ และ เซาธ์แฮมป์ตัน ส่วน ฆาบี กราเซีย ที่ ลีดส์ ก็แค่สัญญายืดหยุ่นหากอยู่รอดคุมต่อซีซั่นหน้า หากตกชั้นก็แยกทาง 

งานหินของเหล่าขงเบ้งลูกหนังซีซั่นนี้ทาง บีบีซี สปอร์ต นั่งถกกับ ริชาร์ด บีแวน ผู้บริหารระดับสูงแหงสมาคมผจก.ทีมลีก (แอลเอ็มเอ) ว่าเกิดอะไรขึ้นในซีซั่น 2022-23 ตีแตกมา 5 ข้อ


1. ‘บิ๊ก 6’ แผ่วสวนทางทีมสอดแทรกขาขึ้น 

“นิยามว่าเป็นฤดูกาลที่คาดเดาอะไรไม่ได้” บีแวน บอกถึงภาพรวมฤดูกาล 2022-23 

2 สมาชิกอย่างยาวนานของ ‘บิ๊ก 6’ อย่าง ลิเวอร์พูล ผลงานไม่สม่ำเสมอหลุดสู่ที่ 8 ส่วน เชลซี วุ่นวานหนักกว่าแหกโค้งที่ 11 เหนือกว่าโซนตกชั้นไม่เท่าไหร่ 

ตรงข้ามกับ นิวคาสเซิ่ล ของ เอ็ดดี้ ฮาว สม่ำเสมอพอลุ้นจบสี่อันดับแรก ขณะที่ ไบรท์ตัน, เบรนท์ฟอร์ด และ แอสตัน วิลล่า ก็เรื่อยๆมาแบบซุ่มเงียบ 

โดยเฉพาะรายหลังให้ เอเมรี่ แทน สตีเว่น เจอร์ราร์ด เมื่อ ต.ค. ที่แล้ว พัฒนาจากหนีตกชั้นมาล่าตั๋วฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรยุโรปเต็มตัว 

“ทีมที่ถูกยกเป็น ‘บิ๊ก 6’ ผลงานแกว่งกว่าปีไหนๆ เปิดโอกาสให้ทีมระดับกลางตารางลืมตาอ้าปากขึ้นมา ส่งผลต่อการจ้างงานหัวหน้าผู้ฝึกสอนของลีก”

“ 2 สโมสรที่ผูกปิ่นโตคว้าสิทธิไปเล่นชปล.แกว่งขนาดนั้น มันจึงน่าท้าทายสำหรับทุกค่ายที่เชื่อว่าตัวเองสามารถเล่นอย่างสม่ำเสมอลองเค้นฟอร์มล่าตั๋วแทน ซึ่งสถานะปัจจุบันของพวกเขาดีกว่าที่คาดตอนปรี-ซีซั่นด้วยซ้ำ”อ

2. การต่อสู้หนีตกชั้นดุเดือด

ฤดูกาลนี้เป็นอีกปีที่แย่งหนีตกชั้นแบบหายใจรดต้นคอ โดย 9 ทีมท้ายตารางเวลานี้มีแค่ ฟอเรสต์ กับ เวสต์แฮม ยังไม่เคยเปลี่ยนผจก.ทีม ระหว่างซีซั่น 

สกอตต์ พาร์คเกอร์ โดน บอร์นมัธ ไล่ออกคนแรกตั้งแต่ 30 ส.ค. หรือเปิดซีซั่นมา 25 วัน หลังจากพ่าย ลิเวอร์พูล 0-9 แล้วทีมเล็งเห็นศักยภาพ แกรี่ โอนีล จากรักษาการผลักดันคุมฟูลไทม์ เป็นกรณีที่เห็นน้อยมาก

บ๊วยตาราง เซาธ์แฮมป์ตัน ปลด ราล์ฟ ฮาเซนฮึทเทิ่ล เมื่อ พ.ย. ให้ เนธาน โจนส์ คุมแทน แต่อยู่บนตำแหน่ง 95 วันก็ถูกไล่ออก เวลานี้ รูเบน เซเยส รักษาการจนสิ้นซีซั่น 

“การแย่งไปเตะฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรยุโรปและหนีตกชั้นต่างมีจำนวนทีมขับเคี่ยวรวมพอๆกัน มันจึงทวีความกดดันแก่ผจก.ทีม ที่อยากนำต้นสังกัดบรรลุเป้าหมาย”


3. อยู่ในตำแหน่งกันสั้นลง

กว่าครึ่งหนึ่งของหัวหน้าผู้ฝึกสอนพรีเมียร์ลีก อังกฤษ เวลานี้นั่งเก้าอี้ไม่เกิน 6 เดือน ส่วนคนที่อยู่นานสุดได้แก่ เจอร์เก้น คล็อปป์ บอส ลิเวอร์พูล นับจาก ต.ค. 2015 

แล้วก็มีผจก.ทีม 5 คนเท่านั้นที่อยู่บนตำแหน่งมากกว่า 2 ปี 

“ค่าเฉลี่ยผจก.ทีมพรีเมียร์ลีก อังกฤษ ฤดูกาลนี้อยู่บนตำแหน่งแค่ 1.57 ปี แล้วสิบจาก 13 ผจก.ทีม/เฮดโค้ชซึ่งทำหน้าที่ตอนนี้ หากย้อนหลังไปในรอบสองปีต้องเคยถูกไล่ออกจากสังกัดเก่า”  

“เรียกร้องมากขึ้นจากหัวหน้าผู้ฝึกสอนทั้งความสำเร็จที่สม่ำเสมอ, แกนหลักในทีมทำผลงานโดดเด่นบรรยากาศการทำงานราบรื่น และกุนซือก็มีพัฒนาการ” 

“ความอดทนไม่มีอีกต่อไปแล้วในลีกนี้ ต่างจากซีซั่นแรก 1992-93 ที่เปลี่ยนรูปแบบสู่พรีเมียร์ลีก อังกฤษ มีผจก.ทีมถูกไล่ออกคนเดียวคือ เอียน พอร์เตอร์ฟิลด์ ที่ เชลซี ในเดือนก.พ.”

ท็อป 10 ผจก.ทีมพรีเมียร์ลีก อังกฤษ ที่คุมทีมนานสุดเวลานี้

ชื่อผจก.ทีม(สังกัด) เวลาในตำแหน่ง 

เจอร์เก้น คล็อปป์ (ลิเวอร์พูล)   7 ปี 6 เดือน 

โจเซป กวาร์ดิโอล่า (แมนฯ ซิตี้) 6 ปี 9 เดือน 

โธมัส แฟร้งค์ (เบรนท์ฟอร์ด) 4 ปี 6 เดือน 

มิเกล อาร์เตต้า 3 ปี 3 เดือน 

เดวิด มอยส์ (เวสต์แฮม) 3 ปี 3 เดือน 

มาร์โค ซิลวา (ฟูแล่ม) 1 ปี 9 เดือน  

สตีฟ คูเปอร์ 1 ปี 6 เดือน 

เอ็ดดี้ ฮาว (นิวคาสเซิ่ล) 1 ปี 5 เดือน 

เอริก เทน ฮาก (แมนฯ ยูไนเต็ด) 9 เดือน 

โรแบร์โต้ เด แชร์บี้ (ไบรท์ตัน) 7 เดือน 

4. สมดุลการแข่งขันภายในลีก

“พรีเมียร์ลีก อังกฤษ ได้รับความนิยมระดับนานาชาติ กลายเป็นฐานสร้างรายได้จนแต่ละสโมสรสามารถซ่องสุมขุมกำลังคุณภาพกันได้ทั้งลีก ช่องว่างระหว่างทีมทั้งฝีเท้า, ผลงาน และลูกไม้ที่งัดมาวัดกันไม่ห่างเท่าไหร่ ส่งผลให้การแข่งขันสมดุล” ริชาร์ด บีแวน เสริม 

“นี่คือสัญญาณทำไมฤดูกาลนี้คาดเดาอะไรไม่ได้เลย” 

พรีเมียร์ลีก อังกฤษ จับจ่ายมหาศาลในซีซั่นนี้ชนิดทั้งลีกยุโรปอาย ทุบสถิติเป็นว่าเล่นทั้งสองรอบตลาด ตีเป็นตัวเลขรวมกว่า 2.8 พันล้านปอนด์ มากถึงขั้นทั้งทวีป ทุกลีก ซื้อ-ขายรวมกันยังไม่เท่า

ทีมเล็กๆอย่าง ฟอเรสต์ มีขาเข้า 29 คนเป็นเงินกว่า 160 ล้านปอนด์, บ๊วยตาราง เซาธ์แฮมป์ตัน เสริมถึง 126 ล้านปอนด์ และบลหนีตาย เวสต์แฮม จ่ายไม่น้อย 171 ล้านปอนด์


5. จากนี้การพิจารณากุนซือใหม่จะรอบคอบขึ้น 

จากนี้ฝ่ายบริหารทีมต่างๆจะรอบคอบขึ้นกว่าคิดแต่งตั้งผจก.ทีมใหม่สักคน ในกรณีไม่เกี่ยวกับกลุ่มรักษาการระยะสั้น 

ดูตัวอย่าง เชลซี ขอสัมภาษณ์แคนดิเดตหลายคน คนละหลายๆรอบเพื่อดูวิสัยทัศน์ จนทาง ยูเลี่ยน นาเกลส์มันน์  อดีตเทรนเนอร์ บาเยิร์น มิวนิค เบื่อรอ ขอถอนตัวจากชอร์ตลิสต์ 

ชัดเจนว่าแนวทางแบบนี้จะมีต่อไปแล้วเพิ่มขึ้นเพราะทุกทีมไม่อยากเปลี่ยนแปลงง่ายๆ ต่างก็มียุทธศาสตร์สร้างขุมกำลังระยะยาวทั้งสิ้น ยิ่งเปลี่ยนคนฝึกสอนบ่อยทีมนิ่งยาก 

การโดนโจมตีนอกสนามก็เป็นอีกปัจจัยที่ต้องเอามาคัดกรองการตั้งผจก.ทีม/เฮดโค้ช เหมือนตัวอยาก แกรม พ็อตเตอร์ อดีตบอส ‘สิงห์บลูส์’ ที่โดนขู่คุกคามครอบครัว 

“ผจก.ทีม ต้องเข้าใจและซาบซึ้งต่อตำแหน่งที่เขาดำรงอยู่ คนในที่แจ้งถูกโจมตีได้เสมอ สภาพจิตใจที่เข้มแข็งจึงสำคัญหากอยู่ช่วงผลงานไม่ดีแล้วมีการข่มขู่พาดพิงล้ำเส้นถึงชีวิตส่วนตัวและครอบครัว” 

ตัวอย่างที่เห็นในฤดูกาลนี้ชัดว่าเรื่องของฟุตบอล บางทีบริบทมากกว่าฟุตบอล” 

คอลัมน์กีฬาบทความกีฬาต่างๆโดยนักวิเคราะห์ GURUชั้นนำของไทย มีให้ท่านได้เสพทุกวันที่เว็บไซต์ TH SPORT

ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
ระดับ : {{val.member.level}}
{{val.member.post|number}}
ระดับ : {{v.member.level}}
{{v.member.post|number}}
ระดับ :
ดูความเห็นย่อย ({{val.reply}})