:::     :::

เมื่อจิ้งจอกสองยุคถูกเปรียบเทียบ

วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน 2562 คอลัมน์ ในกะลาครอบ โดย พาสต้า
5,033
ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
เลสเตอร์ กำลังบินสูงในพรีเมียร์ลีกได้อีกครั้งนับตั้งแต่ฤดูกาลสุดแสนมหัศจรรย์ เมื่อ 4 ปีก่อน

    แม้ปีนี้มันอาจจะยากไปสักหน่อยกับการสร้างประวัติศาสตร์เหมือนที่ทีมของ เคลาดิโอ รานิเอรี่ ทำไว้ในซีซั่น 2015-16 เนื่องจากมีทั้ง ลิเวอร์พูล และ แมนฯ ซิตี้ เป็นก้างขวางคออยู่

    ทว่าเราก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าทัพจิ้งจอกในทุกวันนี้นั้นดูเหมือนจะเป็นทีมที่ดีกว่าวันนั้น

    แคสเปอร์ ชไมเคิ่ล และ เจมี่ วาร์ดี้ คือนักเตะเพียง 2 คนที่หลงเหลืออยู่จากยุคสร้างเทพนิยาย และกลายเป็นกำลังสำคัญของ เบรนแดน ร็อดเจอร์ส ในปัจจุบัน

    ทีนี้เราจะลองมาเทียบแบบตำแหน่งต่อตำแหน่งกันดูว่า เลสเตอร์ ในวันนั้นกับทีมในวันนี้ คุณคิดว่ายุคไหนดูเหนือกว่ากัน

    ผู้รักษาประตู

    แคสเปอร์ ชไมเคิ่ล (เหมือนเดิม)
    มือกาวทีมชาติเดนมาร์กยังคงต่อสู้กับตัวเขาเองในการพาทีมเดินทางสู้วันข้างหน้า

    แบ็กขวา

    แดนนี่ ซิมพ์สัน vs ริคาร์โด้ เปเรยร่า

    มันคงไม่ใช่การดิสเครดิตจนเกินไปหรอกนะที่จะบอกว่า ซิมพ์สัน คือจุดอ่อนที่สุดแล้วใน 11 ตัวจริงยุค รานิเอรี่

    แต่ก็เช่นเดียวกับทุกคนในทัพจิ้งจอกปี 2015-16 เมื่อเขาตั้งใจทำงานอย่างหนัก และสมควรได้รับการยกย่องจากผลงานเหล่านั้น แต่ในแง่ของคุณภาพรายตัว เขายังด้อยกว่า ริคาร์โด้

    ฟูลแบ็กทีมชาติโปรตุเกสนั้นโดดเด่นอย่างมากในปี 2019 เขามีสถิติเข้าปะทะมากที่สุดอันดับ 2 ในพรีเมียร์ลีกฤดูกาลนี้ และก็ยังมีจุดเด่นที่เกมรุกอันทรงพลังด้วย


    เซนเตอร์แบ็ก

    เวส มอร์แกน - โรเบิร์ต ฮูธ vs จอนนี่ อีแวนส์ - ชาลาร์ โซยุนชู

    นี่แหละคือตำแหน่งที่วัดกันยาก

    ตามหน้าเสื่อแล้ว อีแวนส์ กับ โซยุนชู ดูจะเป็นนักเตะที่ดีกว่าทั้ง มอร์แกน และ ฮูธ แต่เราก็ต้องไม่ลืมถึงคุณภาพเรื่องเกมรับในทีมของ รานิเอรี่ เวลานั้น

    หลายคนอาจจะคิดว่าทั้ง ฮูธ และ มอร์แกน จะกลายเป็นพลุที่สว่างวาบ และจางหายไปในพริบตา ทว่าพวกเขาก็ยังคงเป็นคู่พาร์ทเนอร์หลักจนกระทั่งหมดวาระ

    เรื่องความเป็นผู้นำก็คืออีกหนึ่งปัจจัย กัปตัน มอร์แกน เป็นหัวหน้าทีมที่สมบูรณ์แบบในการนำขบวนรถไฟของ เลสเตอร์ ในปี 2015-16

    แม้ โซยุนชู จะสร้างความประทับใจจากความมั่นใจในการครอบครองบอลของเขา และการเล่นเกมรับ แต่มันก็ยังคงเร็วเกินไปที่จะสรุปถึงดาวเตะชาวเติร์กผู้นี้


    แบ็กซ้าย

    คริสเตียน ฟุคส์ vs เบน ชิลเวลล์

    ในทีมต่างเต็มไปด้วยฮีโร่ และ ฟุคส์ เองก็เป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดในซีซั่น 2015-16

    ดาวเตะออสเตรียมีลูกทุ่มไกลอันร้ายกาจ และเท้าซ้ายที่น่ากลัว แต่เขาก็ดูจะยังมีข้อจำกัดอยู่พอสมควร

    กับ ชิลเวลล์ เขาสร้างชื่อให้ตัวเองกลายเป็นตัวเลือกแรกของทีมในตำแหน่งแบ็กซ้าย และตอนนี้ก็กำลังอยู่ในเส้นทางที่สดใสมากที่สุดคนนึงในวงการลูกหนังเมืองผู้ดีด้วย

    แข้งวัย 22 ปีทำไปแล้ว 3 แอสซิสต์ จาก 10 นัดที่ลงเล่นในฤดูกาลนี้ ขณะที่ ฟุคส์ นั้นจบด้วยการมี 4 แอสซิสต์ จาก 32 เกมในฤดูกาลอันสุดแสนจะมหัศจรรย์


    กองกลาง

    แดนนี่ ดริงค์วอเตอร์ - เอ็นโกโล่ ก็องเต้ vs วิลเฟร็ด เอ็นดิดี้ - ยูริ ตีเลมันส์ - เจมส์ แมดดิสัน

    แน่นอนว่าทีมทั้งสองยุคนั้นมีแผนการเล่นที่แตกต่างกัน

    ในทีมของ รานิเอรี่ เขาจะใช้มิดฟิลด์คู่กลาง 2 คนกับแผน 4-4-2 ขณะที่ ร็อดเจอร์ส นั้นชัดเจนกับระบบ 4-1-4-1

    ความพยายามของ ก็องเต้ ระหว่างปีที่คว้าแชมป์ลีกนั้นได้กลายเป็นตำนาน และแข้งชาวฝรั่งเศสก็เป็นต้นแบบของใครหลายคนนับจากนั้นเป็นต้นมา

    แต่เราจะไม่พูดถึง เอ็นดิดี้ เลยก็คงไม่ได้ นี่เป็นอีกหนึ่งกองกลางตัวรับที่ดีที่สุดในลีกช่วงปีที่แล้ว และก็ไม่มีใครที่มีสถิติแท็คเกิ้ลมากกว่าเขาในซีซั่น 2019-20

    ส่วนฟอร์มที่ฉายแสงออกมาจากทั้ง ตีเลมันส์ และ แมดดิสัน อาจจะเป็นแง่มุมที่ดีที่สุดของ ร็อดเจอร์ส ในการคุมทัพจิ้งจอกแล้ว

    ทั้งคู่ต่างก็มีเทคนิคที่ยอดเยี่ยม และยิงรวมกันไปแล้วถึง 7 ประตูในลีก ขณะที่แอสซิสต์ก็มากถึง 6 ครั้งในฤดูกาลนี้

    แต่ในตำแหน่งกองกลาง บางครั้ง แมดดิสัน ก็ถูกสลับไปไปยืนเป็นตัวริมเส้นด้านซ้ายในบางครั้งด้วยเช่นกัน


    ปีก

    ริยาด มาห์เรซ - มาร์ค อัลไบรท์ตัน vs ฮาร์วี่ย์ บาร์นส์ - อโยเซ่ เปเรซ - เดมาไร เกรย์

    นี่แหละน่าจะเป็นตำแหน่งที่แย่งชิงความโดดเด่นกันได้มากที่สุด

    สำหรับ มาห์เรซ นั้นต้องเรียกว่ายกไว้บนหิ้ง เมื่อเขาคว้ารางวัลนักเตะยอดเยี่ยมแห่งปีของพีเอฟเอ ในฤดูกาล 2015-16 หลังจากยิงไป 17 ประตู และทำอีก 11 แอสซิสต์

    ส่วน มาร์ค อัลไบรท์ตัน นั้นอาจจะถูกหลายคนมองข้ามไปสักหน่อย แต่เขาก็ลงเล่นทั้ง 38 เกมในปีที่คว้าแชมป์ลีก และทัพจิ้งจอกจะเล่นไม่เหมือนเดิมแน่หากไม่มีเขาในตอนนั้น ทว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือเราต้องทราบว่าทีมของ รานิเอรี่ นั้นเพิ่งพา มาห์เรซ และ วาร์ดี้ อย่างไร

    ทั้งคู่มีส่วนร่วม (ยิงและแอสซิสต์) กับประตูของ เลสเตอร์ ในพรีเมียร์ลีก ปี 2015-16 สูงถึง 85% ซึ่งนั่นคือตัวเลขที่น่าเหลือเชื่อ


    กองหน้า

    เจมี่ วาร์ดี้ (เหมือนเดิม)

    วาร์ดี้ ในตอนนี้กับ วาร์ดี้ ในปี 2015-16 นั้นเป็นนักเตะที่แตกต่างกันบ้างเล็กน้อย

    กับทุกวันนี้ในวัย 32 ปี เขาไม่จำเป็นต้องใช้พลังงานอย่างสิ้นเปลืองโดยเปล่าประโยชน์เหมือนในอดีต

    กับทีมที่ตัวรุกมีทั้ง แมดดิสัน และ ตีเลมันส์ ที่สามารถสร้างสรรค์โอกาสงามๆ ได้ วาร์ดี้ ก็เพียงแค่ใช้สัญชาตญาณของนักล่ามากกว่าการที่เขาจะเอาแต่วิ่งจ้ำอ้าวเหมือนที่ผ่านมา

    ที่สำคัญเลยก็คือ เขายังคงยิงประตู และฉลองต่อหน้ากองเชียร์คู่แข่งได้ไม่เปลี่ยน

    วาร์ดี้ ในวันนั้นทำได้ 24 ประตูในปีที่พาทีมคว้าแชมป์พรีเมียร์ลีก และกับซีซั่น 2019-20 นี้ เขาก็นำเป็นดาวซัลโวด้วยการซัดไปแล้วถึง 11 ประตู ทั้งที่เล่นไปเพียง 12 นัดเท่านั้น


คอลัมน์กีฬาบทความกีฬาต่างๆโดยนักวิเคราะห์ GURUชั้นนำของไทย มีให้ท่านได้เสพทุกวันที่เว็บไซต์ TH SPORT

ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
ระดับ : {{val.member.level}}
{{val.member.post|number}}
ระดับ : {{v.member.level}}
{{v.member.post|number}}
ระดับ :
ดูความเห็นย่อย ({{val.reply}})

ข่าวใหม่วันนี้

ดูทั้งหมด