:::     :::

รู้จักกับ ราล์ฟ รังนิก ให้มากขึ้น

วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน 2564 คอลัมน์ โรงเตี๊ยมลูกหนัง โดย ทอมมี่ ท่ามะกา
1,863
ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
ราล์ฟ รังนิก ปรมาจารย์ลูกหนังชาวเยอรมันกลายเป็นคำตอบของ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ในที่สุดหลังการปลด โอเล่ กุนนาร์ โซลชา ออกจากตำแหน่งเมื่อสุดสัปดาห์ที่แล้ว

รังนิก สร้างชื่อในวงการฟุตบอลเยอรมันและยุโรปมานานหลายปี โดดเด่นทั้งงานคุมทีมและงานบริหาร เป็นผู้สร้างระบบการเล่นฟุตบอลในแบบของตัวเองและส่งต่อศาสตร์ลูกหนังให้กับโค้ชรุ่นหลัง

นี่คือโค้ชที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดคนหนึ่งในปัจจุบัน และตอนนี้กำลังเข้ามากอบกู้สถานการณ์ในถิ่นโอลด์ แทร็ฟฟอร์ด ที่ผลงานฤดูกาลนี้ต่ำกว่าที่แฟนบอลคาดเอาไว้ 

การมาของ รังนิก เป็นทั้งการปัญหาเฉพาะหน้ากับบทบาทกุนซือชั่วคราวถึงจบฤดูกาล และแก้ปัญหาระยะยาวหลังจากฤดูกาลนี้ที่จะขยับบทบาทไปเป็นที่ปรึกษาของสโมสร เสริมกำลังฝ่ายบริหารเพื่อวางรากฐานให้สโมสรได้กลับมาทวงความยิ่งใหญ่แบบจริงๆ จังๆ เสียทีหลังจากพายเรือวนในอ่างมาหลายปีนับตั้งแต่การวางมือของ เซอร์ อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน 

หลายคนรู้จัก ราล์ฟ รังนิก กันพอสมควร แต่เพื่อให้เห็นภาพเส้นทางในอาชีพที่สั่งสมประสบการณ์ยาวนานก่อนถึงความท้าทายครั้งใหม่ที่โอลด์ แทร็ฟฟอร์ด มากยิ่งขึ้น นี่คือ 10 ข้อมูลน่าสนใจของกุนซือปีศาจแดงคนใหม่ 


1. กุนซือชาวเยอรมันวัย 63 ปีได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ปฏิวัติศาสตร์ลูกหนังสมัยใหม่ที่มีสไตล์การทำทีมเข้มข้น ดุดัน และเอเนอร์จี้สูงปรี๊ด เขาเป็นทั้งอาจารย์และแรงบันดาลใจของ โธมัส ทูเคิ่ล, ยูเลี่ยน นาเกลส์มันน์, เจอร์เก้น คล็อปป์ และกุนซืออีกหลายต่อหลายคนในปัจจุบัน


ลูกศิษย์ของ ราล์ฟ รังนิก ทั้งทางตรงและทางอ้อม

2. ราล์ฟ รังนิก เป็นต้นแบบของ "เกเก้นเพรสซิ่ง" สไตล์ฟุตบอลยุคใหม่ที่มีอิทธิพลต่อกุนซือหลายคน การเล่นสไตล์นี้คือผู้เล่นต้องเพรสซิ่งสูงตั้งแต่แดนบนเพื่อแย่งชิงบอลให้ได้แล้วโจมตีทันที เจอร์เก้น คล็ปป์ คือหนึ่งในผู้จัดการทีมที่ประสบความสำเร็จกับแนวทางนี้ด้วยการปรับให้เข้ากับตัวเองในสไตล์ "เฮฟวี่ เมทัล ฟุตบอล"

รังนิก กล่าวถึงการเล่นในสไตล์นี้ว่า "เราชอบการเพรสสูง เมื่อเราได้ครองบอล เราจะไม่ผ่านบอลขวางสนาม หรือส่งคืนหลัง มันเป็นการเล่นเกมรุกที่รวดเร็วฉับไว รวมถึงการโต้กลับด้วย เป็นสไตล์ฟุตบอลที่น่าตื่นเต้น และเร้าใจ" 


3. เจ้าของฉายา "The Professor" หรือ "ศาสตราจารย์" เริ่มต้นบทบาท "ผู้เล่นควบโค้ช" ในยุค 1980 ก่อนเริ่มคุม สตุ๊ตการ์ท ชุดยู-19 ที่เขาพาทีมคว้าแชมป์ ยู-19 บุนเดสลีกา ได้ในปี 1991 จากนั้นเก็ประสบการณ์กับทีมระดับล่างในเยอรมันหลายทีม ก่อนวนกลับมาได้โอกาสในบุนเดสลีกาครั้งแรกกับ สตุ๊ตการ์ท ในปี 1999 


4. ในช่วงต้นยุค 2000 ที่อำลา สตุ๊ตการ์ท รังนิก สามารถนำ ฮันโนเวอร์ เลื่อนชั้นขึ้นสู่บุนเดสลีกาได้สำเร็จ จากนั้นย้ายไปคุม ชาลเก้ ก็พาทีมเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศเดเอฟเบ โพคาล 2005 และได้รองแชมป์บุนเดสลีกา ซึ่งแชมป์ทั้งสองรายการนั้นคือ บาเยิร์น มิวนิค 


ลุยซ์ กุสตาโว่ ชนวนเหตุทำให้ต้องอำลา ฮอฟเฟ่นไฮม์

5. ช่วงที่ ราล์ฟ รังนิค ได้ปล่อยฝีมือเต็มที่คือตอนที่คุม ฮอฟเฟ่นไฮม์ ทีมเล็กๆ ที่เขาพาทีมเลื่อนชั้นสองปีติดจากระดับดิวิชั่นสามของประเทศขึ้นสู่บุนเดสลีกา และจบถึงอันดับ 7 ของตารางในฤดูกาลแรกบนลีกสูงสุด ทีมชุดนั้นมี เดมบา บา กับ เวดัด อิบิเซวิช เป็นคู่หัวหอกตัวเก่งของทีมที่ยิงรวมกันในลีกเกินสามสิบประตู 


6. อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์กับบริหารที่เคยให้อำนาจเขาทำงานอย่างเต็มที่มาถึงจุดแตกหักในกลางฤดูกาล 2009/10 หลังสโมสรปล่อย ลุยซ์ กุสตาโว่ กองกลางตัวเก่งไปให้ บาเยิร์น มิวนิค โดยที่ รังนิก ไม่ทราบเรื่อง เขาจึงตัดสินใจอำลาตำแหน่งในปีต้นเดือนมกราคมของปี 2011 

 

7. หลังออกจาก ฮอฟเฟ่นไฮม์ ต่อด้วยกลับไป ชาลเก้ อีกรอบที่ครั้งนี้นำทีมเข้าถึงรอบตัดเชือกแชมเปี้ยนส์ ลีก ก่อนพ่ายต่อ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด รังนิก ได้รับตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการของ เร้ด บูลล์ ที่คอยดูแลสโมสรในเครือทั้ง แอร์เบ ไลป์ซิก และ เร้ดบูลล์ ซัลซ์บวร์ก


สองยอดโค้ชเยอรมันเตรียมโคจรมาเจอกันอีกครั้ง

8. ในระหว่างทำงานฝ่ายบริหารกับ เร้ด บูลล์ รังนิก ได้รับแต่งตั้งให้คุม แอร์เบ ไลป์ซิก สองรอบในปี 2015-2016 และ 2018-2019 ช่วงที่สโมสรหาโค้ชที่เหมาะสมไมได้ ซึ่งเขาก็ยกระดับ ไลป์ซิก ให้กลายเป็นทีมระดับท็อปโฟร์ของบุนเดสลีกาได้สำเร็จ และเป็นขาประจำของแชมเปี้ยนส์ ลีก 

ภายใต้การดูแลของ รังนิก ไลป์ซิก ที่ได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จาก ดีทริช เมเทสชิตซ์ มหาเศรษฐีเจ้าของ เร้ดบูลล์ สามารถไต่จากระดับดิวิชั่นสี่ของประเทศจนขึ้นสู่บุนเดสลีกาได้ในเวลา 6 ปีเท่านั้น 

  

9. ช่วงต้นปีตอนที่ เชลซี ปลด แฟร้งค์ แลมพาร์ด ออกจากตำแหน่ง ราล์ฟ รังนิก ได้รับข้อเสนอชั่วคราวด้วยเช่นกัน แต่ตอบได้ปฏิเสธไป พร้อมกับเหตุผลว่า "ผมต้องการร่วมงานกับพวกเขา (เชลซี) แต่ผมทำแค่ 4 เดือนไม่ได้ ผมไม่ใช่โค้ชชั่วคราว ถ้ามองจากมุมสื่อและผู้เล่น ผมจะกลายเป็น 'ผู้จัดการทีมสี่เดือน' ที่รู้ดีว่าเป็นเพียงคนคั่นเวลาตั้งแต่วันแรกที่ทำงาน" 


10. งานปัจจุบันของ ราล์ฟ รังนิค คือตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายกีฬาและการพัฒนาของสโมสร โลโกโมทีฟ มอสโก ในรัสเซีย ที่เซ็นสัญญาสามปี เมื่อช่วงซัมเมอร์ที่ผ่านมา ก่อนตกลงรับงานชั่วคราวกับ แมนฯ ยูไนเต็ด ที่แม้คล้ายกับข้อเสนอ เชลซี ที่เคยปฏิเสธไป แต่การจะได้รับตำแหน่งที่ปรึกษาที่มีบทบาทในด้านบริหารเป็นเวลาสองปี คือเหตุผลที่ทำให้ยอดโค้ชวัย 63 ปีรายนี้กลายคำตอบสุดท้ายของปีศาจแดง 


คอลัมน์กีฬาบทความกีฬาต่างๆโดยนักวิเคราะห์ GURUชั้นนำของไทย มีให้ท่านได้เสพทุกวันที่เว็บไซต์ TH SPORT

ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
ระดับ : {{val.member.level}}
{{val.member.post|number}}
ระดับ : {{v.member.level}}
{{v.member.post|number}}
ระดับ :
ดูความเห็นย่อย ({{val.reply}})

ข่าวใหม่วันนี้

ดูทั้งหมด