:::     :::

สังเวียนชั่วคราว

วันจันทร์ที่ 30 กันยายน 2567 คอลัมน์ สิงห์สนามจริง โดย ยักษ์เดนส์
452
ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
เชลซี กับแผนงานปรับปรุงสนาม สแตมฟอร์ด บริดจ์ ได้มีการเริ่มต้นขึ้นแล้ว เพื่อเพิ่มความจุของสโมสรให้ทัดเทียมคู่แข่งสำคัญร่วมเมืองอย่าง อาร์เซน่อล, สเปอร์ส หรือแม้แต่ เวสต์แฮม

    สนามแห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อปี 1905 หรือเกือบ 120 ปีที่แล้ว กับปัจจุบันด้วยความจุเพียง 40,000 ที่นั่ง กับขนาดทีมของสโมสรตอนนี้ต้องบอกว่าเล็กเกินไปมาก ซึ่งการปรับปรุงครั้งนี้จะมีการเพิ่มความจุเป็น 60,000 ที่นั่ง

    รายงานระบุว่างานนี้ต้องใช้เวลาถึง 6 ปี นั่นทำให้ "สิงห์บลูส์" จะต้องหาสังเวียนเพื่อใช้สำหรับการลงเล่นเป็นการชั่วคราวก่อน แน่นอนว่าต้องเป็นสนามในลอนดอนเพื่อที่แฟนบอลจะสะดวกกับการเดินทางมาชมเกม

    และนี่คือ 4 สนามที่มีความเป็นไปได้สำหรับ เชลซี ที่จะไปใช้เป็นการชั่วคราวระหว่างที่รอให้ปรับปรุงสนามเสร็จ


เวมบลีย์

ความจุ : 90,000 ที่นั่ง

    สนามแห่งชาติที่เป็นสังเวียนหลักสำหรับทีมชาติอังกฤษ ถือเป็นสนามที่มีความคุ้นเคยเป็นอย่างดีสำหรับแฟนบอล รวมถึง เชลซี ที่ช่วงหลายปีที่ผ่านมาผ่านเข้ารอบลึกๆ ฟุตบอลถ้วยมาตลอด ล่าสุดก็เพิ่งมาเล่นที่นี่ในเกมชิงชนะเลิศ คาราบาว คัพ

    ก่อนหน้านี้ สเปอร์ส ก็เคยใช้สังเวียนนามาแล้วในช่วงปี 2017-2019 ในช่วงที่สร้างสนามใหม่อย่าง ท็อตแน่ม ฮ็อทสเปอร์ สเตเดี้ยม ที่เพิ่มความจุสนามเป็น 62,000 ที่นั่ง


    แน่นอนว่าเมื่อ "ไก่เดือยทอง" เคยขออุนญาตใช้ที่นี่ชั่วคราว ทาง "สิงห์บลูส์" เองก็คงได้รับไฟเขียวใหเใช้สนามนี้ได้เช่นเดียวกับ

    อย่างไรก็ตามที่ตั้งของสนามอาจจะเป็นปัญหายุ่งยากสำหรับแฟนบอลเนื่องจาก เวมบลรย์ อยู่ห่างจาก สแตมฟอร์ด บริดจ์ 10 ไมล์ การเดินทางด้วยรถไฟใต้ดินต้องใช้เวลาถึง 50 นาทีและต้องเปลี่ยนสายถึง 3 สาย

    นอกจากนี้ที่ เวมบลีย์ ยังเป็นสถานที่จัดการแสดงดนตรีและการแข่งขันกีฬ ซึ่งอาจทำให้ชนกับเกมของ เชลซี ได้

ทวิคเกนแฮม

ความจุ : 82,000 ที่นั่ง

    สนามรักบี้แห่งชาติของ อังกฤษ ที่มีความจุมากกว่าที่ สแตมฟอร์ด บริดจ์ ถุงสองเท่า แต่ว่าระยะทางก็อยู่ห่างไป 10 ไมล์เช่นเดียวกับที่ เวมบลีย์

    ถ้ามองตามหน้ากระดาษแล้วที่อาจจะเป็นสนามในอุดิมคติของ เชลซี ทั้งเรื่องความจุที่มากขึ้น การเดินทางไปยังฝั่งตะวันตกที่มีความสะดวกมากกว่า ที่สำคัญคือที่นี่จัดงานน้อยกว่า เวมบลีย์ ทำให้ พรีเมียร์ลีก ไม่ต้องปวดหัวเรื่องวางโปรแกรมด้วย


    อย่างไรก็ตามกับการแข่งขันฟุตบอลที่ต้องลงเล่นเกือบทุกสัปดาห์นั้นอาจจะส่งผลต่อการใช้ชีวิตของผู้อยู่อาศัยในละแวกนั้นทั้งเรื่องการปิดถนนรวมถึงความแออัดเมื่อถึงวันแข่งขัน

    เนื่องจากสนามแห่งนี้ไม่ได้ใกล้กับระบบขนส่งสาธารณะมากนัก และการเพิ่มขึ้นของรถยนต์บนท้องถนนอาจทำให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมได้

คราเว่น ค็อทเทจ

ความจุ 29,600 ที่นั่ง

    ถือเป็นสนามที่สมเหตุสมผลที่สุดที่จะย้ายไปเล่น เมื่อมองจากการเดินทางสำหรับแฟนบอลที่ง่ายที่สุดแล้ว

    คราเว่น ค็อทเทจ อยู่ห่างจาก สแตมฟอร์ด บริดจ์ เพียงแค่ 1.7 ไมล์เท่านั้น แต่ก็มีเรื่องให้ต้องติดมากหน่อยเพราะนี่คือสโมสรในพรีเมียร์ลีกด้วยกันนั่นเอง


    นั่นยังไม่รวมถึงว่าความจุของสนาม "เจ้าสัวน้อย" อยู่ที่ไม่ถึง 30,000 คนเลย นั่นส่งผลต่อยอดขายตั๋วของสโมสรอย่างแน่นอน

    นอกจากนี้สิ่งอำนวยความสะดวกก็เป็นเรื่องน่ากังวล รวมถึงการเผชิญหน้ากันของแฟนบอลทั้งสองทีมที่คงจะหลีกเลี่ยงยากจริงๆ

ลอนดอน สเตเดี้ยม

ความจุ : 62,500 ที่นั่ง

    นี่เป็นทางเลือกที่น่าจะเกิดขึ้นน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับ 3 สังเวียนก่อนหน้านี้เพราะสนามของ เวสต์แฮม อยู่อีกฟากของกรุงลอนดอนเลย

    ระยะห่างจาก สแตมฟอร์ด บริดจ์ ที่ 12 ไมล์ การเดินทางอาจจะต้องใช้เวลาถึงหนึ่งชั่วโมง แม้แต่แฟนบอลของ "ขุนค้อน" เองก็ยังไม่ชอบที่จะต้องเดินทางมาที่สนามแห่งนี้เลย เพราะหากลงที่สถานี สแตรทฟอร์ด ก็ยังต้องใช้เวลาเดินราว 15 นาที


    แต่ฝั่งคณะกรรมการพัฒนามรดกลอนดอน จะอ้าแขนต้อนรับ เชลซี อย่างไม่ต้องสงสัยเพราะนี่คือสโมสรใหญ่ที่จะเข้ามาเพิ่มธุรกิจของสนามและระแวกนั้นได้เป็นอย่างดี

    ถึงกระนั้นก็ต้องใช้ความเชื่อมั่นอย่างสูงในการโน้มน้าวให้ เชลซี มาเล่นที่นี่ แต่แน่นอนว่าแฟนบอล "สิงห์บลูส์" จะประท้วงอย่างไม่ต้องสงสัย

คอลัมน์กีฬาบทความกีฬาต่างๆโดยนักวิเคราะห์ GURUชั้นนำของไทย มีให้ท่านได้เสพทุกวันที่เว็บไซต์ TH SPORT

ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
ระดับ : {{val.member.level}}
{{val.member.post|number}}
ระดับ : {{v.member.level}}
{{v.member.post|number}}
ระดับ :
ดูความเห็นย่อย ({{val.reply}})

ข่าวใหม่วันนี้

ดูทั้งหมด