สิ่งที่ยังขาด

"สิงโตน้อย" ของ สจ๊วร์ต เพียร์ซ โดนถล่มยับเยินด้วยสกอร์ 0-4 จากประตูของ กอนซาโล่ กาสโตร นาทีที่ 23, เมซุต โอซิช นาทีที่ 48 และ 2 ประตูของ ซานโดร ว๊ากเนอร์ นาทีที่ 79 และ 84
ปัญหาที่เห็นได้ชัดอย่างหนึ่งในสายตาของบรู๊คกิ้ง ซึ่งขณะนั้นดำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายเทคนิคของ เอฟ ในการสนทนากับนักข่าวหนังสือพิมพ์ไม่กี่คนก็คือ เราไม่ได้สร้างผู้เล่นอย่าง เมซุต โอซิล ออกมา
ต้องบอกว่า เยอรมัน มีมากกว่า โอซิล อีกเยอะ พวกเขามีผู้รักษาประตูอย่าง มานูเอล นอยเออร์, เยโรม บัวเต็ง และ เบเนดิกต์ โฮเวเดส ในแนวรับ และ ซามี เคดิร่า และ มัทส์ ฮุมเมิ่ลส์ ในตำแหน่งกองกลาง
โทนี่ โครส ก็คงจะได้ลงเล่นด้วยเช่นกัน หาไม่บาดเจ็บไปซะก่อน ซึ่งผู้เล่น 7 คนนี้ได้เป็นตัวจริงที่ เยอรมัน ได้แชมป์โลก ในปี 5 ปีต่อมา
อังกฤษ สามารถรักษามาตรฐานไว้ได้ในรอบแบ่งกลุ่ม แต่ทีมก็มีปัญหาผู้เล่นที่ติดโทษแบนในรอบชิงชนะเลิศ และ โอซิล ก็สร้างสรรค์เกมรุกได้อย่างยอดเยี่ยม
ย้อนกลับไปในปี 2009 โอซิล เป็นเพลย์เมกเกอร์ที่ บรู๊คกิ้ง ชื่นชอบ โดยที่ฟุตบอล อังกฤษ พร้อมที่จะก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ของการพัฒนา แผนการปฏิบัติงานของผู้เล่นระดับยอดเยี่ยม (EPPP) ได้ถูกคิดค้นขึ้น และจะมอบอำนาจให้กับสโมสรที่มีสถาบันระดับที่ยอดเยี่ยมในการคัดเลือกนักฟุตบอลรุ่นเยาว์จากทั่วประเทศ ควบคู่ไปกับการเปิดศูนย์ฝึกสอนใหม่ของ เอฟเอ ที่ เซนต์ จอร์จ พาร์ ในทางทฤษฎีแล้วนี่จะเป็นการรวมตัวของผู้เล่นที่ดีที่สุด พร้อมกับสิ่งอำนวยความสะดวกที่ดีที่สุดและการฝึกสอนที่ดีที่สุด
อังกฤษ จะสร้าง โอซิล ขึ้นมาได้หรือเปล่ายังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่, โคล พาล์มเมอร์ มีรูปร่างเหมือน โอซิล ตอนหนุ่มๆ ด้วยร่างที่เพรียวบาง มีเท้าซ้ายที่เฉียบคม มีวิสัยทัศน์ที่ยอดเยี่ยมและจ่ายบอลได้อย่างหลากหลาย
ทีมมีกองหน้าที่มีเทคนิคสูงจำนวนมาก พวกเขาเล่นในพื้นที่สุดท้าย ปรับตามแนวทางของโค้ช รับบอลกลางสนาม เคลื่อนที่ระหว่างแนว หลายคนเล่นในตำแหน่งกองกลางตัวรุก และบางคนก็เปลี่ยนมาเล่นฟูล-แบ็ก
ฟิล โฟเด้น, เมสัน เมาท์ และ บูกาโย่ ซาก้า เป็นตัวอย่างที่คลาสสิก - รีโก้ ลูอิส และ คอบบี้ เมนู ก็เช่นกัน ยังมีแข้งรุ่นใหม่กำลังมา นำโดย ไมล์ส ลูอิส-สเกลลี่ และ อีธาน วาเนรี่
ในขณะเดียวกัน ทีมก็มีความหลากหลายน้อย ตำแหน่งเซนเตอร์ และ กองหน้าตัวกลางมีน้อย กองกลางตัวรุกกำลังหายไป ทำไมทีมไม่สร้างกองกลางตัวรับเฉพาะทางแบบที่ สเปน และ โปรตุเกส ทำกันล่ะ? แล้วไหนจะผู้รักษาประตูอีก?
ทุกตำแหน่งในทีมล้วนมีความสำคัญ และเป็นเรื่องที่น่าคิดสำหรับผู้ที่จำได้ว่าสมัยก่อนฟุตบอลอังกฤษ มีกองหลังและผู้รักษาประตูที่มีคุณภาพแค่ไหน
ข้อยกเว้นบางส่วนบอกเล่าเรื่องราวได้ เดแคลน ไรซ์ ถูก เชลซี ปฏิเสธตอนอายุ 16 ปี, จู๊ด เบลลิงแฮม ข้ามจากแชมเปี้ยนชิพและไปเล่นต่างประเทศ 5 ปี, กองหลังของ โธมัส ทูเคิ่ล ลงสนามพบกับ แอลเบเนีย ในวันศุกร์ โดยใช้คู่เซนเตอร์ที่มาจาก ชาร์ลตัน และ ดาร์ลิงตัน
ฟาบิโอ คาเปลโล เคยกล่าว ในบทสัมภาษณ์กับ เมล สปอร์ต ว่า "ในตำแหน่งเซ็นเตอร์แบ็ก พวกเขาไม่มีผู้เล่นชาวอังกฤษมากนักและผู้รักษาประตูก็ดูธรรมดามาก"
ปัญหานี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ การสร้างนักเตะพรสวรรค์ช่วงอายุ 18-21 ปี ท่ามกลางความแข็งแกร่งผู้เล่นจากหลายชาติใน พรีเมียร์ลีก และการล่มสลายของฟุตบอลทีมสำรองแบบแข่งขันได้เป็นสาเหตุของความกังวลมาหลายปีแล้ว โอกาสที่จะแทรกขึ้นมาหรือสร้างผลกระทบจากม้านั่งสำรองมักจะเกิดขึ้นในทีมที่มีเทคนิคที่สามารถเปล่งประกายได้
ผู้จัดการทีม จะไม่ค่อยสนใจที่จะเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับตำแหน่งต่างๆ ของทีม ตรงกลางเป็นจุดที่จะใช้เงินก้อนโต้ในการเซ็นสัญญามากที่สุด ตำแหน่งนี้ต้องมีประสบการณ์และการเรียนรู้จากความผิดพลาด
การเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์เรื่องการเสริมทีมกับการดึงผู้เล่นชั้นนำเข้ามาทำให้ผู้เล่นดาวรุ่งมีโอกาสน้อยลง ส่งผลให้พวกเขาพลาดโอกาสในการพัฒนา การมีผู้เล่นสำรองเก้าคนในรายชื่อทีมและโควตาผู้เล่นที่เติบโตในบ้านก็ส่งผลเช่นเดียวกัน
สถาปนิกของ "EPPP" คาดว่าพรสวรรค์จะไหลกลับมาตามปีระมิดอีกครั้ง สโมสรเล็กๆ ที่เสียผู้เล่นไปเมื่ออายุ 16 ปี อาจได้ผู้เล่นที่ถูกสโมสรใหญ่ทิ้งไปในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า
การยืมตัวกลายมาเป็นองค์ประกอบสำคัญของเรื่องนี้ แต่เกมพัฒนาไปอย่างรวดเร็วหลังโควิด ฟุตบอล พรีเมียร์ลีก ทิ้งห่างจากระดับล่างมากกว่าเดิม ด้วยเทคโนโลยียุคใหม่ รวมถึงเรื่องของแท็กติก และเจ้าของทีมที่พยายามผลักดันรูปแบบใหม่
ผู้จัดการทีม ที่กังวลว่างานของพวกเขาในลีกระดับ ลีก วัน และ ลีก ทู ต้องการให้กองหลังและผู้รักษาประตูเคาะบอลในกรอบเขตโทษของตัวเองหรือเปล่า? นักเตะดาวรุ่งสามารถตอบสนองความต้องการทางกายภาพและจิตใจของลีกสูงสุดได้หรือไม่? หลังจากเล่นฟุตบอลอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยจากการสอนของ อะคาเดมี่
มีกี่คนในกลุ่มถูกปฏิเสธที่จะกระหายลุกขึ้นมาเริ่มต้นใหม่อีกครั้ง? หรือว่ามีอีกหลายคนที่กำลังจะหายไปจากวงการฟุตบอลเมื่ออายุ 16 ปี?
อย่างไรก็ตามมีคนประสบความสำเร็จมากมาย และ ลูอิส-สเกลลี่ คือคนล่าสุด เราควรปรบมือให้เขา แต่เราไม่ควรดื่มด่ำกับความสำเร็จโดยไม่แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นมานานแล้ว
คอลัมน์กีฬาบทความกีฬาต่างๆโดยนักวิเคราะห์ GURUชั้นนำของไทย มีให้ท่านได้เสพทุกวันที่เว็บไซต์ TH SPORT