:::     :::

โรม่าเผยขั้นตอนเพื่อดูแลนักเตะที่เดินทางไปซ้อม

วันพฤหัสบดีที่ 07 พฤษภาคม 2563
668
ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share

สโมสรโรม่าได้ออกแถลงการณ์อีกฉบับซึ่งเกี่ยวกับขั้นตอนการดำเนินงานเพื่อดูแลและตรวจสอบนักเตะอย่างละเอียด

บรรดาสโมสรในอิตาลีเริ่มให้นักเตะเดินทางไปใช้งานสนามซ้อมของทีมได้แล้วหลังจากทางการได้ผ่อนปรนมาตรการรับมือโควิด-19 ในช่วงที่ผ่านมา

ล่าสุดทาง หมาป่ากรุงโรม ได้เผยขั้นตอนการดำเนินงานเพื่อตรวจร่างกายนักเตะ โดยพวกเขาได้ตั้งจุดตรวจวัดเพื่อระดับอุณหภูมิและออกซิเจนสำหรับนักเตะและทีมงานโค้ช รวมไปถึงขั้นตอนต่างๆ ในสนามซ้อม

"เราทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจาก Biomedical Campus อย่างใกล้ชิด เพื่อที่จะได้รับข้อมูลให้ได้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ซึ่งเกี่ยวกับวิธีการในการยับยั้งการแพร่ระบาดของโควิด-19 และเข้าใจถึงวิธีการดำเนินงานในสนามซ้อม" มาโนโล่ ซูบีเรีย หัวหน้าฝ่ายฟุตบอลต่างประเทศของสโมสรระบุ

"จากข้อสรุปที่เราได้ทำงานในส่วนของรายละเอียดข้อปฏิบัติที่ถูกต้อง หนึ่งในนั้นได้มีการได้รับอนุมัติจากทางแคว้นลาซิโอ และเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น"

"มีการกำหนด 3 ขั้นตอนของจุดตรวจนั่นคือการตรวจวัดระดับอุณหภูมิและออกซิเจนของทุกๆ คนที่เข้ามายังศูนย์ฝึก โดยหนึ่งในสถานีนั้นจะเป็นจุดตรวจของนักเตะและทีมงานโค้ช โดยตลอดช่วง 2 วันที่ผ่านมาเราได้เริ่มขั้นตอนการประเมินทางการแพทย์ โดยไม่ให้นักเตะเหล่านี้มีการสัมผัสตัวกัน"

นอกจากนั้นทาง โรม่า เผยว่าจะให้นักเตะอยู่ห่างกันมากกว่า 10 เมตรในส่วนของการทำงาน รวมไปถึงการออกกำลังทางร่างกาย ส่วนการทำงานร่วมกับลูกบอลนั้น ทีมงานโค้ชในสนามต้องสวมหน้ากากอนามัย

รวมไปถึงนักเตะที่ต้องสวมหน้ากากอนามัยในตอนที่เดินทางมาสนามซ้อม ซึ่งนักเตะต้องทำตามอย่างเคร่งครัด ทั้งในขั้นตอนการตรวจระดับออกซิเจน โดยจะมีการบันทึกด้วยเครื่องมือสำหรับการวัดระดับของความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดไหลเวียนอย่างต่อเนื่อง และการตอบคำถามเกี่ยวกับ โควิด-19



TH SPORTเว็บไซต์ข่าวกีฬา อัพเดทข่าวฟุตบอลต่างประเทศทุกวันทุกเวลา

ถ้าไม่อยากพลาดทุกข่าวสารของวงการกีฬา โปรดติดตามเรา :
เพิ่มเพื่อน
Share
Twitter
Share
ระดับ : {{val.member.level}}
{{val.member.post|number}}
ระดับ : {{v.member.level}}
{{v.member.post|number}}
ระดับ :
ดูความเห็นย่อย ({{val.reply}})

ข่าวใหม่วันนี้

ดูทั้งหมด